GypRocc_00

เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ยิปซัม” หลายๆคนคงคุ้นเคยและรู้จักกับวัสดุประเภท ยิปซัม อยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็จะรู้จักว่ามันคือวัสดุที่เอาไว้ทำ ฝ้าเพดาน หรือ ผนัง แต่อาจจะไม่รู้ว่า ยิปซัม ที่เราใช้งานกันอยู่นี้ ทำมาจากอะไรและมีขั้นตอนการผลิตเป็นอย่างไร วันนี้ทางทีมงานมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมโรงงานผู้ผลิตยิปซัมรายใหญ่อย่าง Gyproc ที่โรงงานไทยผลิตภัณฑ์ยิปซัมนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เพื่อดูกระบวนการผลิต เดี๋ยวเราไปดูพร้อมๆกันเล้ยยยยยยย ヾ(^-^)ノ~♪

GypRocc_02

เริ่มงานด้วยกล่าวต้อนรับจากุณ Mike Emson (Operation Director South East Asia)

GypRocc_03

ต่อด้วยการอธิบายถึงประวัติและรูปแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัทจากคุณ คุณธงชัย กมลพัฒนะ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ไทยผลิตภัณฑ์ยิบซั่ม จำกัด (มหาชน)

GypRocc_19

 หากเอ่ยถึงคำ่า แร่ยิปซัม หรือ แคลเซียมซัลเฟต หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยนักและไม่รู้ว่ามันคืออะไรแต่ถ้าบอกว่า ปูนซีเมนต์, ฝ้ายิปซัม, ผนังยิปซัม, น้ำถั่วเหลือง, เต้าหู้, ปุ๋ย, ตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์, ยาสีฟัน และแป้งทาตัว หลายคนก็คงจะรู้จักกันดีอยู่แล้วเพราะเราทั้งใช้ทั้งกินกันอยู่บ่อยๆ . . . หลายคนคงรู้แล้วซินะครับว่าผมอยากบอกอะไร สิ่งที่ผมกำลังจะบอกก็คือ เจ้าแร่ยิปซัมเนี่ย มันอยู่ในสิ่งของและอาหารที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ค่อยจะรู้สึกถึงเจ้าตัวแร่ยิปซัมนี่ซักเท่าไหร่ แต่ถ้าอยากรู้รายละเอียดลอง Search ดูวิธีการทำเต้าหู้ดูก็ได้ครับ

จริงๆแล้วแร่ยิปซัมมีการใช้งานในบ้านเรามานานมากแล้ว แต่มาในรูปแบบของ เกลือจืด ครับ ซึ่งได้จากการทำ นาอันเชื้อ โดยการตกผลึกของน้ำเค็มจากทะเล หลังจากนั้นก็นำผลึกที่ได้ไปล้างน้ำและคั่วจนเกลือจืดปลี่ยนเป็นสีขาว ต่อมานำไปละลายน้ำกรองเอาเฉพาะตัวแป้งมาใช้งาน

ก่อนจะไปดูกระบวนการผลิตเรามาพูดถึงตัวแร่กันซักนิดนึง แร่ยิปซัม ในโลกจะมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท Satin Spar (ชนิดที่เป็นเส้นใยคล้ายไหม), Selenite (ชนิดที่เป็นแผ่นบางผลึกใส) และ Albaster (ชนิดมวลอัดแน่นสีขาว) แร่ที่พบในบ้านเราจะเป็นแบบ Alabaster (อะลาบาสเตอร์) มีสีขาวขุ่น เป็นแร่ที่มีความแข็งน้อยมาก หากเราเอาเล็บไปขูดก็จะสามารถทำให้เป็นรอยจากเล็บเราได้เลย และเราสามารถหักก้อนแร่ยิปซัมให้แตกออกจากกันได้ไม่ยากถ้าหินก้อนไม่ใหญ่มากนักนะครับ ขอพูดถึงเรื่องของค่าความแข็งซะหน่อยโดยปรกติแล้วค่าความแข็งของหินจะมีหน่วยการวัดอยู่นะครับ เค้าเรียกว่า Mohs’ Scale เป็นหน่วยวัดค่าความแข็งมีตัวเลขตั้งแต่ 1 – 10 สำหรับหินธรรมดาทั่วๆไปจะอยู่ที่ 3 กว่า ส่วนเพชรที่แข็งที่สุดอยู่ที่เต็ม 10 ส่วนค่าความแข็งของยิปซัมอยู่แค่ที่ 2 เท่านั้นเอง

*ในรูปด้านบนเป็นแบบ Satin Spar ครับ

ส่วนแร่ยิปซัมที่ใช้ในการผลิดเชิงอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะได้จากการทำเหมืองแร่ครับ ในประเทศไทยผู้ที่ค้นพบแร่ยิปซัมในประเทศไทยคือ คุณบุณชู กัมปนาทแสนยากร ค้นพบครั้งแรกที่จังหวัดพิจิตร และได้เริ่มทำกิจการเกี่ยวกับเหมืองแร่ปี 2500 แล้วหลังจากนั้นจึงตั้งโรงงานที่บางปะอินเพื่อผลิตสินค้าที่ทำมาจากแร่ยิปซัม ซึ่งในยุคแรกๆก่อนจะมีการค้นพบแร่ในประเทศ แร่ยิปซัมที่จะใช้กราผลิตสินค้าต่างๆต้องนำเข้าจากสาธารณรัฐไซปรัส

แร่ยิปซัมนั้นจะอยู่ตามชั้นหินใต้ดินและอยู่ลึกสุดที่ประมาณ 30 เมตร เหมืองแร่ยิปซัมในบ้านเรา ซึ่งแหล่งแร่ใหญ่ๆจะมีอยู่หลายที่เช่น บริเวณรอยต่อของจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดพิจิตร มีอยู่ 9 เหมือง, จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีอยู่ 12 เหมือง, จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอยู่ 9 เหมือง แร่ยิปซัมเป็นส่วนผสมที่เอามาใช้ผลิตปูนซีเมนต์ เพราะช่วยในการชะลอการแข็งตัวของปูนได้

เหมืองแร่ยิปซัมจะมีลักษณะเป็นเหมืองเปิดไม่เหมือนกับเหมืองหินต่างๆที่อยู่ใต้ดิน การทำเหมืองแร่ยิปซัมจะต้องเปิดหน้าดินก่อนแล้วค่อยๆขุดเหมืองเป็นแบบขั้นบันไดสูงประมาณ 10 – 12 เมตร โดยหน้าดินจะอยู่ที่ 5 – 6 เมตรแรกหลังจากนั้นก็จะเป็นแร่ยิปซัมไปจนถึงความลึกประมาณ 30 เมตร โดยระยะการทำเหมืองแร่ในแต่ละแห่งจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณของแร่ในแต่ละพื้นที่ หลังจากที่ขุดแร่จดหมดแล้วตัวเหมืองก็จะแปลงสภาพเป็นบ่อน้ำไว้สำหรับใช้ในการทำเกษตรกรรมต่อไป

 

พอระเบิดแล้วก็นำแร่ที่ได้มาเข้าเครื่องบดเพื่อควบคุมขนาดของก้อนแร่ให้มีขนาดตามที่ต้องการโดยแบ่งเป็น 2 ขนาดคือ เล็กกว่า 2″ และ 2″-6″ ขนาดที่ใช้ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะใช้ แต่พอบดแล้วจะมีเศษผงขนาดเล็กออกมาด้วย ซึ่งผงเหล่านี้จะแยกไปสู่กระบวนกระผลิตอย่างอื่น ก้อนแร่ที่ถูกแยกตามขนาดแล้วจะมีการขนส่งทางเรือไปยังแหล่งผลิตต่างๆทั้งในและต่างประเทศ โดยสัดส่วนการส่งออกแร่ยิปซัมที่ขุดมาได้อยู่ที่ 70% ครับ

หลังจากที่เราได้แร่ยิปซัมมาแล้วก็มาถึงขั้นตอนการผลิตวัสดุที่เรียกว่าผงปูนปลาสเตอร์ครับ โดยเริ่มจากนำก้อนแร่มาเข้าเครื่องบีบอัดให้เหลือขนาดเพียงแค่ 2 ซม.แล้วจะถูกบดอีกทีให้กลายเป็นผงอีกที ต่อจากนั้นก็นำแร่มาทำการเผาไล่ความชื้นออกจากผลึกยิบซั่มที่อุณหภูมิสูงกว่า 150 องศาเซลเซียล แล้วนำไปจัดเก็บไว้ที่ SILO ขั้นตอนนี้ทำเพื่อไล่โมเลกุลของน้ำออกจากตัวแร่ยิปซัม เวลาจะใช้งานก็นำไปผสมน้ำเพื่อเติมโมเลกุลของน้ำกลับเข้าไป ทำให้สามารถใช้แร่เข้าไปผสมตามปูนซีเมนต์และแผ่นยิปซัมบอร์ดได้ นอกจากนี้ยังใช้ผงปูนปลาสเตอร์ไปทำเป็นชอล์กเขียนกระดาน, เฟือกดามตามจุดต่างๆของร่างกาย และแม่พิมพ์สินค้าต่างๆ

เอาหละครับพูดเรื่องแร่ยิปซัมมาเยอะแล้ว ต่อมาจะพาไปดูขั้นตอนการผลิตแผ่นบอร์ดยิปซัมต่างๆในโรงงานนี้กัน …แต่ก่อนจะเข้าไปต้องสวมใส่อุปกรณ์ Safety ต่างๆก่อนนะ

กระบวนการผลิตหลักๆจะเริ่มจากนำกระดาษยิปซัมขึ้นเครื่องต่อกระดาษ จากนั้นกระดาษจะวิ่งไปตามสายการผลิต

วิ่งมาจนถึงเครื่อง Mixer ซึ่งเครื่อง Mixer ที่หน้าที่ผสมวัตถุดิบทั้งเปียกและแห้ง รวมทั้งปูนที่จัดเก็บไว้ใน Silo พ่นออกมาบนกระดาษ (ลักษณะเป็นคล้ายๆขอเหลวหนืดๆนะครับ)

จากนั้นก็ขึ้นรูปตามความหนาที่ต้องการ โดยมีกระดาษมาปะที่ด้านบนอีกที

เมื่อได้ความหนาตามที่ต้องการแล้ว แผ่นยิปซัมจะวิ่งไปบนสายพานซึ่งมีความยาวประมาณ 400 เมตร เพื่อให้ปูนด้านในกระดาษมีการเซตตัว หลังจากที่ปูนแห้งแล้วจะผิวสัมผัสคล้ายหนามไปเกาะกับเนื้อกระดาษทำให้กระดาษติดอยู่กับตัวแผ่นยิปซัมโดยไม่ต้องใช้กาว

จากนั้นจะทำการตัดตามความยาวที่ต้องการ (มาตราฐานหน้ากว้างอยู่ที่ 2.4 x 4.8 เมตร)

หลังจากนั้น บอร์ดจะวิ่งเข้าเตาอบที่อุณหภูมิประมาณ 150 – 230 องศาเซลเซียส ซึ่งแผ่นยิปซัมจะอยู่ในเตาอบประมาณ 45 – 60 นาที

เมื่อตัวบอร์ดออกจากเตาอบแล้วจะทำการติดเทปและจัดเรียงเข้าตั้งที่จุด Take-Off

แล้วนำไปจัดเก็บที่โกดัง เพื่อทำการจำหน่ายต่อไป ข้อดีของแผ่นยิปซัมอีกอย่างคือเป็นวัสดุที่นำไปรีไซเคิลได้ 100% และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วยครับ ส่วนกำลังการผลิตของที่นี่จะอยู่ที่ประมาณ 70 ล้าน ตร.ม./ปี หรือถ้าจะเทียบปริมาณกับคอนโด 1 ห้องที่ 65 ตร.ม.(กำแพง 4 ด้านและฝ้าเพดาน) ก็จะได้ประมาณ 1,077,000 ห้อง/ปี แต่ครึ่งหนึงของแผ่นยิปซัมที่ผลิตมาได้จะเป็นการส่งออกไปยังต่างประเทศนะครับ

หลังจากที่ได้รู้จักที่มาของวัสดุที่เรียกว่ายิปซั่มกันไปแล้ว สุดท้ายขอแยกประเภทของฝ้าเพดานต่างๆไว้ให้ดูจะได้เลือกเอาไปใช้งานกันได้อย่างถูกต้องนะคร๊าบบบบ ^___^

  • แผ่นยิปซัมธรรมดาสีขาว ไว้ใช้ทำผนังและฝ้าเพดานทั่วๆไป
  • แผ่นยิปซัมทนความชื้นสีเขียว เหมาะกับการใช้ในห้องน้ำ
  • แผ่นยิปซัมทนไฟสีชมพู เหมาะกับการใช้งานในห้องที่มีความร้อนสูง (ทนเพลิงไหม้ได้ 3 ชั่วโมง โดยไม่ร่วงหล่น)
  • แผ่นยิปซัมชนิดทนทานพิเศษสีเหลือง เหมาะกับการใช้งานในลิฟท์โดยสาร, ลิฟท์ขนของ, ห้องเย็น
  • แผ่นยิปซัมกันร้อนติดอลูมิเนียมฟอยล์  เหมาะกับการใช้งานประเภทป้องกันความร้อน
  • แผ่นยิฟซัมกันร้อนพิเศษติดโฟม เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องลดความร้อนจากฝ้าเพดานเพราะมีโฟมชนิดพิเศษติดอยู่กับตัวแผ่นยิปซัมเลย