สวัสดีค่ะ… วันนี้เราจะพาไปชมห้องเรียนสำหรับเด็กผู้พิการทางสายตา ในโครงการ Classroom Makeover ซึ่งเป็นโครงการเพื่อสังคมจาก Golden Land หรือ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่ตั้งใจจะพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้สำหรับกลุ่มผู้พิการทางสายตา เป็นการคิดและพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้อย่างเต็มที่ และให้การออกแบบก่อสร้างของห้องเรียนแห่งนี้เพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆได้ทำตาม ซึ่งได้มีการเปิดใช้งานแล้วในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี้เองค่ะ ก่อนอื่นอยากให้ชม VDO คลิปความยาว 17 นาทีนี้ ก่อนเพื่อจะให้คุณตาทราบว่าเด็ก ตาบอดนั้นเรียนไปทำไม…

วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูแบบเจาะลึก ทุกซอกทุกมุมกันเลยว่ามีอะไรบ้าง อยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะไปชมกันเลย ^^

ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ Goldenland หรือบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กันก่อนค่ะ บริษัทนี้ได้ดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็น บ้านแฝด, ทาวน์โฮม และอาคารเชิงพาณิชย์ อย่าง Samyan Mitrtown, อาคาร FYI Center นะคะ โดยบริษัท Goldenland มีปรัชญาการทำงานคือ Developing The Best และให้ความสำคัญกับการพัฒนา ‘คน’ มากที่สุด จึงเกิดเป็นโครงการ CSR ที่จะช่วยพัฒนาด้านการศึกษาและให้ความรู้ โดยมีช่วงวัยที่เหมาะสมนั่นก็คือวัยเด็ก เพราะวัยเด็กเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนามากที่สุดนั่นเองค่ะ จากนั้นก็ได้มีการคิดต่อไปว่าเด็กกลุ่มไหนที่ยังขาดโอกาสในการพัฒนาอยู่บ้าง ซึ่งก็ได้มาพบกับกลุ่มเด็กผู้พิการทางสายตาที่สังคมไทยที่ในปัจจุบันยังไม่ให้รับการยอมรับมากเท่าที่ควร อย่างที่เราเห็นได้ทั่วไปนะคะว่าเด็กๆเหล่านี้เมื่อเติบโตขึ้นมาก็จะมีข้อจำกัดในการประกอบอาชีพ มีขายของบ้าง ขายฉลากกินแบ่งรัฐบาลบ้าง หรือแม้แต่ไปเป็นขอทาน ในทางกลับกันต่างประเทศที่มีผู้พิการทางสายตาเขาสามารถมีอาชีพการงานเหมือนกับคนปกติเลย เราจะเห็นพนักงานบริษัท, พนักงานร้านอาหาร, ครู ,วิศวกร ฯลฯ ที่พิการทางสายตาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของโครงการ “Classroom Makeover” โครงการที่หวังจะพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ห้องเรียนของเด็กผู้พิการทางสายตาให้เป็นต้นแบบกับโรงเรียนสอนผู้พิการทางสายตาทั่วประเทศ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้อย่างฟรีๆ ที่นี่ หรือทางหน้าเว็ปไซต์ Goldenland ได้เลยค่ะ

โครงการนี้จะเริ่มพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็กผู้พิการทางสายตา ระดับ Pre-Braille ซึ่งเป็นวัยก่อนเรียนรู้อักษรเบรลล์ หรือเรียกว่าก่อนอ่านออกนั่นเองค่ะ ที่ โรงเรียนสอนคนตาบอดพระมหาไถ่ พัทยา จังหวัด ชลบุรี

ซึ่งประเภทของผู้พิการทางสายตา (Type of Blindness) ได้มีการแบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ค่ะ ้

  • ตาบอดสนิท (Blindness) เป็นผู้ที่มองเห็นได้น้อยมาก หรือไม่สามารถมองเห็นได้เลย จะต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นแทนในการเรียนรู้
  • ตาบอดเลือนราง (Low Vision) เป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นไม่รุนแรง ยังสามารถมองเห็นอักษรพิมพ์ขนาดใหญ่ หรือสีต่างๆได้ ซึ่งส่วนใหญ่ประสาทตาจะเสื่อมลง
    เรื่อยๆ และบอดสนิทในที่สุด หากไม่ได้รับการกระตุ้นการใช้สายตาอย่างถูกวิธี

ซึ่งเด็กในโรงเรียนนี้ก็จะมีนักเรียนทั้ง 2 ประเภทเลยนะคะ โดยส่วนใหญ่เด็กที่มีความผิดปกติแบบตาบอดสนิทตั้งแต่เกิดจะมีปัญหาเรื่องพัฒนาการทางสมองพ่วงมาด้วย ดังนั้น หลักสูตรสำหรับการสอนจึงต้องปรับให้เหมาะสม และเราอาจจะเห็นเด็กๆที่อายุเกิน แต่ยังเรียนในชั้นเรียนที่ต่ำกว่าปกติค่ะ

จากปัญหาต่างๆของเด็กผู้พิการทางสายตา ทางโกลเด้นแลนด์จึงได้มีการจัดทำพื้นที่การเรียนรู้ที่สามารถใช้สอนวิชาในการพัฒนาด้านต่างๆ ที่เหมาะสมขึ้นมาค่ะ โดยได้เชิญเหล่าพันธมิตรผู้มีจิตกุศลมาร่วมออกแบบและพัฒนาห้องเรียนให้ครบ 360 องศา เช่น Creative Crews เป็นผู้ศึกษารายละเอียดของการพัฒนาเด็กตาบอด และออกแบบร่วมกับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น กันตนา ซาวน์ แลบฯ(เสียง) / วิธ ไลท์ (แสง) / คุณก้อย ชลิดา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกลิ่น / คุณสา มณิสรา ปาลวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กตาบอดจากกระทรวงศึกษาธิการ / บริษัท แพลนทอยส์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญการผลิตของเล่นเพื่อพัฒนาการเด็ก จึงเกิดเป็นวิชาการเรียนรู้ 4 วิชา ประกอบไปด้วย วิชาสัมผัส, วิชาแสง, วิชาลมหายใจ และวิชาเดซิเบรลล์ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเบื้องต้นของ เด็กๆ อย่างบูรณาการรอบด้านเลย เพราะเมื่อเด็กๆเหล่านี้ได้ รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้เด็กมีการพัฒนาไวยิ่งขึ้น โดยไอเดียต่างๆที่อยู่ในห้องเรียนนี้เราสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อผู้พิการทางสายตาได้นะคะ ภายในห้องเรียนจะมีความน่าสนใจอะไรบ้างเราไปชมพร้อมๆกันเลยค่ะ

บรรยากาศด้านหน้าห้องเรียน จะสังเกตเห็นผนังที่เป็นสีสันสดใจนั่นก็คือแผ่นกระจกสีที่ทำหน้าที่ให้แสงธรรมชาติทะลุผ่านแล้วเกิดเป็นจุดสีภายในห้องค่ะ

Classroom Makeover นี้ได้สถาปนิกผู้ออกแบบคือ คุณแบงค์ – เอกฉันท์ เอี่ยมอนันต์วัฒนะ ผู้อานวยการ บริษัท ครีเอทีฟครูส์ จำกัด มีแนวคิดในการออกแบบอยู่ 2 ไอเดีย คือ

  • ไอเดียแรก ผู้อำนวยการโรงเรียนท่านบอกว่าเด็กที่ตาบอดจะมีการเรียนรู้ไม่เหมือนเด็กปกติ เด็กปกติจะเรียนรู้จากภาพรวม ไปยังภาพย่อย แต่เด็กตาบอกจะมีการเรียนรู้จากภาพย่อยผ่านการจับ สัมผัส จึงจะเห็นเป็นภาพรวม
  • ไอเดียที่สอง ได้ปรึกษากับคุณสา เรื่องหลักสูตรการสอนพรีเบรลล์ (ก่อนเรียนรู้อักษรเบรลล์) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้ห้องให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด แม้ว่าเด็กๆแต่ะคนจะมีระดับการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

ภายในห้องจะประกอบไปด้วยพื้นที่การเรียนรู้วิชาต่างๆทั้ง 4 วิชา ผนังทั้ง 4 ด้านเป็นวิชาที่ใช้ในการสัมผัส มีสีสันสดใสช่วยกระตุ้นสายตาสำหรับเด็กที่ตาบอดเลือนราง และแต่ละด้านมีวัสดุและผิวสัมผัสที่แตกต่างกันออกไปให้เด็กๆที่ตาบอดสนิทได้เรียนรู้ ไปเกาะ ไปเล่นกับผนัง ตรงกลางห้องจะมีโต๊ะเก็บของ และที่นูนอยู่บนพื้นนั่นก็คืออักษรเบรลล์นั่นเองค่ะ

วิชาสัมผัส

มาเริ่มกันที่วิชาสัมผัส ส่วนแรงจะเริ่มที่ผนังข้างระเบียง มีตัวหมุดที่เป็นรูปทรงต่างๆขนาดเท่าๆกัน เป็นรูปทรงมาตรฐาน เช่น สามเหลี่ยม , สี่เหลี่ยม, ทรงกลม, ทรงกระบอก, วงรี เป็นต้น

โดยเด็กๆจะได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง ไปพร้อมๆกับช่องสี (สำหรับเด็กตาบอดเลือนรางจะสามารถมองเห็นสีต่างๆได้อยู่ค่ะ) คุณครูอาจจะสอนให้เด็กๆ เอาหมุดสี่เหลี่ยมสีเขียวไปปักที่ช่องสีเขียว, เอาหมุดสีต่างๆไปไว้ในช่องสีต่างกัน เป็นต้น

ตัวหมุดสามารถดึงออกมาสัมผัสทั้งหมดก่อนจะปักคืนไปยังจุดต่างๆได้เหมือนกับทั้งผนังเป็นของเล่นชิ้นใหญ่เลยค่ะ

ช่องสีต่างๆนี้ไม่ได้มีหลอดไฟอยู่ด้านในนะคะ เกิดมาจากกระจกสีด้านนอกแล้วให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้ามานั่นเองค่ะ

กระจกสีด้านนอกสามารถใช้กระดาษแก้วสีต่างๆแทนได้นะคะ

ถัดมาเป็นผนังด้านขวาของห้อง เป็นพื้นที่เรียนรู้ลักษณะของสัตว์ที่ต่างชนิดกัน เป็นไอเดียของผู้อำนวยการโรงเรียนที่อยากให้เด็กๆได้เรียนรู้เรื่องสัตว์ โดยชีวิตจริงแล้วเด็กๆที่ตาบอดตั้งแต่กำเนิดจะไม่รู้เลยว่าสัตว์ที่อยู่ในทะเล หรือสัตว์ป่านั้นมีรูปร่างเป็นอย่างไร

ภายในผนังฝั่งนี้จึงเต็มไปด้วยสัตว์ต่างๆ หลากหลายชนิด โดยเริ่มแรกเด็กๆที่ได้ลองมาสัมผัสสัตว์ที่มี 4 ขา จะตอบเหมือนกันแทบทุกคนว่าเป็นสุนัข เนื่องจากไม่เคยได้สัมผัสสัตว์ชนิดอื่นๆในชีวิตประจำวันค่ะ

ของเล่นรูปสัตว์นี้จะยึดติดกับตัวแม่เหล็กติดผนัง สามารถดึงออกมาสัมผัสทั้งชิ้นได้เลยค่ะ

ทั้งหมดนี้มีสัตว์หลากหลายชนิดจริงๆ บางตัวผู้เขียนก็ไม่เคยเห็นวางขายอยู่ตามร้านขายของเล่นเลยนะคะ เช่น สัตว์น้ำอย่าง กุ้ง, ปลาหลายชนิด, เต่า, สัตว์ปีก และแมลง ผู้เขียนยังตื่นเต้นแทนเด็กๆเลยค่ะ 😀

นอกจากนั้นฟังก์ชั่นของผนังด้านนี้สามารถเปิดเป็นตู้เก็บของ เก็บอุปกรณ์การสอนต่างๆได้ด้วยค่ะ เป็นการใช้พื้นที่ให้มีความคุ้มค่าและเป็นระเบียบไปในตัวเลย

มาถึงผนังด้านที่สามเป็นผนังสีเข้ม มีตัวหมุดเหมือนกับผนังแรกริมระเบียงเลยค่ะ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน  เราไปดูกันทีละฝั่งนะคะ

ฝั่งแรกเป็นพื้นที่เรียนรู้ผิวสัมผัสต่างๆที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กๆได้เรียนรู้และลองสัมผัส ภายในช่องหมุดต่างๆก็จะมีแสงธรรมชาติที่ทะลุผ่านกระจกสีด้านนอกเข้ามาทำให้ช่องของหมุดดูสวยงามน่าเล่นมากยิ่งขึ้น

พื้นผิวต่างๆก็จะมีทั้ง ผิวเรียบเนียน, ผิวนุ่ม, ขนฟู, ฝอยขัดหม้อ, แปรง ฯลฯ โดยทางโรงเรียนสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับช่วงพัฒนาการของเด็กๆได้เองเลยค่ะ

ตัวหมุดสามารถดึงออกมาได้ทั้งชิ้นเลย

นอกจากของใช้ที่มีในชีวิตประจำวัน ก็จะมีพื้นผิวอีกแบบให้ได้สัมผัสนั่นก็คือ ผิวขรุขระ, หนามแหลม, ลื่น, เหนียว เป็นต้น

เมื่อเราเรียนรู็เรื่องสัมผัสกันไปแล้ว ผนังถัดมาจะได้เรียนรู้เรื่องเสียงในชีวิตประจำวัน ผนังฝั่งนี้จะเป็นตัวหมุดกระปุกพลาสติก บรรจุวัตถุดิบต่างๆที่มักจะเจอได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กๆได้หยิบมาเขย่า ให้ได้ยินเสียงจนสามารถเรียนรู้และจดจำได้เร็วยิ่งขึ้น

ด้านในหมุดต่างๆจะประกอบไปด้วย เกลือ, พริกไทย, ข้าว, น้ำมัน, น้ำ เพราะนอกจากของแข็งที่กระทบให้เกิดเสียงแล้ว เรายังแยกแยะความข้น-เหลวของวัตถุดิบต่างๆได้เช่นกันค่ะ โดยเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับที่พักอาศัยของผู้พิการทางสายตาได้โดยการใช้ภาชนะที่กระทบแล้วเกิดเสียง อย่าเช่นขวดพลาสติก เพื่อความถูกต้องในการใช้งานของผู้พิการทางสายตาได้ค่ะ

กระปุกที่ด้านในบรรจุข้าวสาร เด็กสามารถหยิบตัวหมุดออกมาเขย่าได้เลย ง่ายสุดๆ

มาดูอีกสักหนึ่งอันค่ะ ชิ้นนี้บรรจุก้อนหินขนาดเล็ก เขย่าแล้วมีเสียงแตกต่างจากข้าวสารอยู่นะ

มาต่อกันที่ผนังสุดท้าย เป็นพื้นที่เรียนรู้เรื่องรูปทรง เป็นตัวแม่เหล็กติดกับผนัง ซึ่งตัวผนังด้านนี้ก็เป็นตู้เก็บของเช่นเดียวกันกับฝั่งตรงข้ามที่เป็นรูปสัตว์นะคะ ช่วยประหยัดพื้นที่ในการเก็บของต่างๆได้

การเรียนรู้ฝั่งนี้นอกจากจะสามารถหยิบ มาสัมผัสรูปทรงต่างๆได้เป็นชิ้นๆแล้ว เด็กยังนำมาเล่นเรียงต่อกันเป็นรูปร่างต่างๆได้ด้วย เพราะผนังทั้งหมดเป็นแม่เหล็ก เลื่อนรูปทรงต่างๆได้อย่างอิสระเลยค่ะ

หยิบออกมาได้เป็นชิ้นๆเลย สามารถประยุกต์ใช้กับบ้านผู้พิการทางสายตาโดยการติดแม่เหล็กรูปทรงต่างกันเอาไว้ที่บริเวณต่างๆ หรือทำลูกบิดประตูเป็นรูปทรงที่ต่างกันเพื่อที่จะได้แยกแยะห้องได้ค่ะ

นอกจากผนังทั้ง 4 ฝั่งแล้ว บริเวณพื้นห้องก็เป็นอีกแหล่งเรียนรู้ค่ะ จะสังเกตว่ามีแนวนูนขึ้นมาจากพื้นเป็นพื้นที่เรียนรู้และสัมผัสอักษรเบรลล์ เนื่องจากเด็กในโรงเรียนนี้อยู่ในช่วงที่เริ่มเรียนรู้อักษรเบรลล์นั่นเองค่ะ

แผ่นนูนเป็นตัวอักษรเบรลล์ ใช้วัสดุที่เป็นไม้สัมผัสสบายมือเหมาะกับเด็กๆ สามารถประยุกต์ใช้กับพื้นหรือผนังบ้านเพื่อช่วยบอกว่าอยู่ตำแหน่งไหนได้ค่ะ

โดยจะมีทั้งตัวอักษรภาษาไทย ,สระ ,วรรณยุกต์ ,ภาษาอังกฤษ และตัวเลขครบเลยค่ะ

เรามาดูวีดีโอแรงบันดาลใจของวิชาสัมผัสกันค่ะ

วิชาลมหายใจ

ต่อมาเป็นส่วนหนึ่งของวิชาลมหายใจ ที่ได้คุณ ก้อย – ชลิดา คุณาลัย Scent Designer (นักออกแบบกลิ่น) มาเป็นที่ปรึกษานะคะ คุณก้อยกล่าวว่า “ถ้าประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหายไปอีก 4 สัมผัสที่เหลือ จะต้องทำงานให้ดีขึ้นหากน้องๆมองไม่เห็น เรื่องกลิ่นถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการดารงชีวิตของน้องๆ จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบกลิ่นให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อเป็นการเตือนอันตรายให้กับน้อง และสามารถนำการสูดดมกลิ่นต่างๆ มาปรับใช้ในชีวิตประจาวันได้อย่างปลอดภัย”

นั่นก็หมายถึงว่าเด็กๆจะต้องใช้การดมกลิ่นเป็นเสมือนสายตาในการรับรู้ว่ามีอะไรอยู่ตรงหน้า เมื่อเกิดอันตรายขึ้นเช่น มีไฟไหม้ เด็กๆจะได้หลบหนีได้ทันค่ะ หรือจะเป็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น เดินผ่านทุ่งหญ้า, ครัว, สวนสัตว์ ก็จะรับรู้ได้ว่าตัวเองนั้นอยู่ที่ไหนนั่นเอง

กลิ่นที่จะนำมาใช้ในวิชานี้เป็นกลิ่นสังเคราะห์ เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆนะคะ ซึ่งจะทำมาหลากหลายเลย เช่นกลิ่น ทุ่งหญ้า, ขนม, สวนสัตว์, นมบูด, ควันไฟ เป็นต้น โดยทางคุณครูเองก็สามารถเพิ่มเติมได้ค่ะ ตัวผู้เขียนได้ลองดมดูแล้ว รู้สึกเหมือนกับกลิ่นนั้นๆจริงๆค่ะ ชอบมาก 🙂

เรามาดูวีดีโอแรงบันดาลใจของวิชาลมหายใจกันค่ะ

วิชาเดซิเบรลล์

วิชาเดซิเบรลล์ คุณอู่ – ไตรเทพ วงศ์ไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ จำกัด ได้กล่าวว่า“การเรียนรู้ในการได้ยิน เสมือนเรามอง-เห็นสถานที่นั้นจริงๆ ธรรมชาติของการได้ยินเสียงของมนุษย์ หูซ้ายและขวาเรามีการประมวลผลที่ต่างกัน ไกลแค่ไหน ระยะทางแค่ไหน มาจากทางซ้ายหรือขวา” ทำให้เขาเลือกใช้การบันทึกเสียงแบบ Binaural recording จำลองการได้ยินเสียงของมนุษย์ผ่านความห่างของกระโหลก เช่น ถ้าเรายืนอยู่ริมถนน รถที่มาจากฝั่งซ้ายเราจะได้ยินที่หูซ้ายก่อน เป็นต้น ทำให้การบันทึกเสียงจะต้อง มีหูซ้ายหูขวา มีใบหู และใส่ไมโครโฟนไว้สองข้าง ทำให้เด็กๆเรียนรู้เรื่องเสียงได้เหมือนกับในชีวิตจริง ถือว่าสมจริงๆกันสุดๆเลยค่ะ

การประยุกต์ใช้เสียงสำหรับที่อยู่อาศัยคนพิการทางสายตา เราสามารถนำเอาเทคโนโลยีต่างๆในการใช้เสียงมาช่วยได้ เช่น Home Automation การสั่งการด้วยเสียง หรือเซนเซอร์สัญญาณเตือนต่างๆค่ะ

นี่เป็นวีดีโอแรงบันดาลใจของวิชาเดซิเบรลล์ค่ะ

วิชาแสง

ต่อมาเรามาปิดไฟกันสักหน่อยเพราะจะพามาเรียนรู้ วิชาแสง โดยมีอาจารย์อ้อ – ผศ.ดร. วรรณภา พิมพ์วิริยะกุล ไลท์ติ้ง ดีไซเนอร์ เป็นผู้ร่วมให้คำปรึกษาในโครงการนี้ อาจารย์บอกว่า “สำหรับเด็กสายตาเลือนรางเราจะสามารถใช้ทฤษฎีสีและแสงมาออกแบบเพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้และปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ โดยใช้แสงเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาอย่างเช่น กระตุ้นดวงตา, เอาสีของแสงมาจับต้องกับวัตถุเพื่อให้เห็นรูปทรงที่แตกต่างออกไป” โดยจะสังเกตว่าห้องนี้จึงมีเทคนิคในการเล่นกับแสงอยู่พอสมควรเลยทีเดียว

สำหรับที่อยู่อาศัยก็เช่นกันนะคะ เราสามารถออกแบบโดยใช้แสงอยู่ใต้เฟอร์นิเจอร์หรือบริเวณบันไดเพื่อที่ผู้พิการทางสายตาแบบที่เห็นเลือนลาง สามารถคลำทางเดินได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากๆในการช่วยให้พวกเขาช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น

ภายในห้องถ้าปิดไฟด้านในแล้วจะเห็นสีภายในช่องหมุดต่างๆได้มากขึ้น ดูน่าดึงดูดสำหรับเด็กตาบอดเลือนรางค่ะ

ฝั่งด้านหลังห้องก็ได้แสงที่มาจากธรรมชาติผ่านกระจกสีเข้ามาเหมือนกัน

นอกจากแสงที่ผ่านกระจกสีเข้ามาแล้ว ภายในห้องมีการติดตั้งไฟ 3 สี สีแดง, สีเหลือง และสีเขียว เพื่อสะท้อนไปยังผนังฝั่งตรงข้ามให้เด็กๆเรียนรู้เรื่องการสะท้อนแสงแต่ละสีค่ะ

โดยแสงแต่ละสีจะทำให้เห็นวัตถุแต่ละสีแตกต่างกันไป ได้ดึงเอาวิชาวิทยาศาสตร์เข้ามาร่วมในการสอนด้วยค่ะ

ถัดมาเป็นการใช้แสงนำทางสำหรับผู้ที่ตาบอดเลือนราง โดยจุดแสงจะเคลื่อนที่ไปล้อมรอบห้องให้เด็กๆได้เดินตาม ตรงนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่ตาบอดเลือนรางได้ โดยใช้แสงเป็นตัวนำทางค่ะ โดยติดหลอดไฟไว้ตามเส้นทางการเดินและให้แสงเคลื่อนที่อัตโนมัติเพื่อบอกทาง

อีกจุดหนึ่งสำหรับเด็กที่ตาบอดเลือนรางจะได้เรียนรู้เรื่องเงาของวัตถุ จากไฟด้านหน้าผนังด้วยค่ะ

เรามาชมวีดีโอแรงบันดาลใจของวิชาแสงกันค่ะ

#ClassroomMakeover #DevelopingTheBest #Goldenland

_________________________________________________________

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับมุมมองใหม่ห้องเรียนเพื่อพัฒนาการเด็กผู้พิการทางสายตา สำหรับโรงเรียนหรือผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับคู่มือสาหรับการออกแบบห้องเรียน เพื่อพัฒนาน้องๆ ผู้พิการทางสายตา ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ Classroommakeoverbook หรือ โทร 02-764-6244 เลยค่ะ โอกาสหน้าทาง ThinkofLiving จะพาไปชมโครงการไหนติดตามกันได้ ที่นี่เลยค่ะ

Website : www.thinkofliving.com
Twitter : www.twitter.com/thinkofliving
YouTube : www.youtube.com/ThinkofLiving
Instagram : www.instagram.com/thinkofliving
Facebook : ThinkofLiving