บ้านหลังแรก ไม่เกิน 5 ล้าน คืนภาษี 5 แสน คอนโด บ้านเดี่ยว นโยบาย ประชาชน ภาษีคืน 5 แสน

บ้านหลังแรกมีอัพเดทกันแล้วล่ะครับ รมช. กระทรวงการคลัง เปิดเผยผ่าน Inside Thailand ว่าจะเสนอมาตรการลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรก ต่อครม. วันนี้ ผู้ซื้อบ้านต้องราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับการลดหย่อนภาษีร้อยละ 10 ของราคาบ้าน หรือไม่เกิน 5 แสนบาท โดยจะมีช่วงเวลาการคืนเงิน ยาว 5 ปี ในจำนวนเท่าๆกัน หรืออาจจะเป็นการคืนในปีเดียว ตรงนี้คณะรัฐมาตรีจะเป็นผู้ตัดสินใจ

ถ้าหากมาตรการนี้ได้รับการเห็นชอบก็จะมีผลบังคับใช้ทันที และมีระยะเวลาใช้สิทธิประโยชน์เป็นเวลา 5 ปี ดังนั้นหากผู้ที่ยังมีรายได้ไม่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษีในปีนี้ แต่ถ้าในระยะเวลา 5 ปีนี้มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ก็สามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อบ้านหลังแรกมาหักลดหย่อนภาษีย้อนหลังได้ สำหรับการตรวจสอบว่าเป็นการซื้อบ้านหลังแรกจริงหรือไม่ จะใช้ระบบสถาบันการเงินตรวจสอบ เพราะผู้ซื้อบ้านทุกคนต้องธุรกรรมการเงิน ผ่อนสินเชื่อบ้านผ่านธนาคาร

ก็คือ ซื้อบ้านราคาสูงสุดที่ 5 ล้านบาท จะลดหย่อนภาษีได้ 5 แสนบาท แต่หากซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท จะหักภาษีไม่เกิน 1 แสนบาท

บ้านหลังแรก ภาษี ลดหย่อน 5 แสน ไม่เกิน 10% ลดหย่อนภาษี บ้าน

กระทรวงการคลังชี้แจงการเพิ่มวงเงินบ้านหลังแรกเป็น 5 ล้านบาท เพื่อครอบคลุมทำเลในเมืองด้วย

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จะเสนอมาตรการลดหย่อนภาษีมีบ้านหลังแรก เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.) และสาเหตุที่เพิ่มราคาให้คนซื้อบ้านหลังละไม่เกิน 5 ล้านบาท จากเดิมไม่เกิน 3 ล้านบาทนั้น เพื่อให้ครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในเมือง และกลางเมืองซึ่งมีราคาสูง โดยผู้ที่ซื้อบ้านในโครงการนี้จะสามารถนำค่าใช้จ่ายไปคำนวนหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 1 แสนบาท ในระยะเวลา 5 ปี

อ้างอิงจาก ครอบครัวข่าว 3

เพิ่มเติมจากผู้จัดการรายวัน

จากนโยบายบ้านหลังแรกที่กระทรวงการคลังเตรียมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันนี้ (20 ก.ย.54)โดยกำหนดให้ผู้ซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านบาทสามารถนำเงินร้อยละ 10 ของราคาบ้านสูงสุดไม่เกิน 500,000บาท มาหักลดหย่อนก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี โดยกำหนดให้แบ่งหักเป็นเวลา 5 ปี ปีละเท่าๆ กัน

ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จะมีเฉพาะผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีผู้ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 จำนวนทั้งสิ้น 9 ล้านแบบ ในจำนวนดังกล่าวมี 7.4 ล้านแบบคิดเป็น 76.5% ที่มีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาท/ปี จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว เนื่องจากได้รับการยกเว้นภาษี ที่เหลือจำนวน 2.1 ล้านแบบเป็นผู้ที่เสียภาษี ซึ่งคนกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากมาตรการบ้านหลังแรกของรัฐบาล

สำหรับสัดส่วนการจัดเก็บภาษีตามฐานรายได้ แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 รายได้150,001-500,000 บาท/ปี มีจำนวน1,665,000 แบบ คิดเป็น 18.5% เสียภาษีในอัตรา 10%,กลุ่มที่ 2 รายได้ 500,001-1,000,000 บาท/ปีมีจำนวน315,000 แบบ คิดเป็น 3.5% เสียภาษีในอัตรา 20%, กลุ่มที่ 3 รายได้1,000,001-4,000,000 บาท/ปี มีจำนวน17,000 แบบ สัดส่วน 1.3% เสียภาษีในอัตรา30% และรายได้ตั้งแต่ 4,000,001 ขึ้นไป มีจำนวน 16,000แบบ คิดเป็น 0.2% เสียภาษีในอัตรา 37%

นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)เปิดเผยว่า จากการคำนวณสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับตามฐานการจ่ายภาษีรายได้ของบุคคลธรรมดา กรณีตัวอย่าง ซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท สามารถหักลดหย่อนก่อนการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี 5 แสนบาท จะพบว่า ผู้ที่มีฐานรายได้150,001-500,000 บาท ฐานภาษี 10% เมื่อคำนวณแล้วจะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 10,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 50,000 บาท

ฐานรายได้ 500,001-1,000,000 บาทฐานภาษี 20% หักลดหย่อนภาษีได้ปีละ20,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 100,000 บาท,ฐานรายได้ 1,000,001-4,000,000 บาท ฐานภาษี 30% หักลดหย่อนภาษีได้ปีละ 30,000 บาท รวม 5 ปี เป็นเงิน 150,000 บาท และฐานรายได้ 4,000,001 บาท ขึ้นไป ฐานภาษี37% หักลดหย่อนภาษีได้ 37,000บาท รวม5 ปี หักลดหย่อนภาษีได้ 185,000 บาท

ทั้งนี้ ผู้เสียภาษีจะได้รับประโยชน์มากน้อยตามฐานอัตราภาษี และราคาบ้าน โดยผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุด คือผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งมีฐานการจ่ายภาษีที่ 37% และต้องซื้อบ้านราคาสูงสุด5 ล้านบาท จะได้รับประโยชน์ 185,000 แสนบาท

รัฐไม่หนุนสินเชื่อ 0% ในบ้านหลังแรก

ด้านนายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เปิดเผยว่า หากรัฐบาลจะมีมาตรการอื่นออกมา เพื่อเกี่ยวโยงกับโครงการบ้านหลังแรก อาทิ การให้วงเงินสินเชื่อแบบดอกเบี้ย 0% เป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี นั้นขณะนี้ทางรัฐบาลยังไม่มีนโยบายให้ธนาคารดำเนินการแต่อย่างใด และธนาคารยืนยันที่จะไม่ดำเนินการโครงการดังกล่าวเอง โดยที่รัฐบาลไม่ได้ชดเชยดอกเบี้ยให้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคารและไม่ต้องการให้กระทบต่อผลตอบแทนของพนักงาน

สำหรับโครงการบ้านหลังแรกของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สินเชื่อซื้อบ้านดอกเบี้ย 0 % นาน 2 ปี วงเงินรวม 25,000 ล้านบาทนั้น ปัจจุบันได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อไปแล้วราว 16,000-17,000 ล้านบาท และมีการเบิกสินเชื่อไปแล้ว 12,000 ล้านบาทส่วนที่เหลืออีกประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การก่อสร้างบ้านยังไม่แล้วเสร็จ ประกอบกับผู้ขอสินเชื่อส่วนใหญ่ เอกสารและหลักฐานไม่ครบ

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ามาตรการ 0% 2 ปีไม่ได้รับผลกระทบ เพราะมองว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันถือว่า เป็นจุดที่สูงสุดแล้วหากมีการปรับขึ้น ก็ไม่น่าจะเกิน 0.25%รวมทั้งเห็นว่า นอกจากปัจจัยดอกเบี้ยแล้วสถานการณ์น้ำท่วมยังมีผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน

นายวรวิทย์ กล่าวต่อว่า โดยปกติแล้วการให้ดอกเบี้ย 0% นั้น ส่วนใหญ่จะให้ไม่เกิน 6-7 เดือน แต่หากเป็นนโยบายของรัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุหรือชดเชยดอกเบี้ยให้ เพราะ ธอส. มีต้นทุนในการ

ดำเนินงาน นอกจากนี้ยังต้องแยกบัญชีโครงการตามนโยบายภาครัฐออกจากบัญชีจากการดำเนิน ธุรกิจทั่วไปของธนาคารเพราะโครงการตามนโยบายของรัฐจะไม่มีกำไรในการดำเนินงาน บางโครงการขาดทุน