tree condo ประสานมิตร 7

ดร.เกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผยว่า จากนโยบาย สผ.ที่ต้องการ กระจายอำนาจการพิจารณารายการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้กับท้องถิ่น โดยปัจจุบัน สผ. มี EIA รอพิจารณาประมาณ 200 โครงการ ล่าสุดเมื่อ 25 กันยายนที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการ EIA มีมติให้ สผ. กระจายอำนาจการพิจารณา EIA สำหรับโครงการ Low Rise ที่สูงไม่เกิน 8 ชั้น หรือ 23 เมตร มีพื้นที่อาคารไม่เกิด 10,000 ตร.ม. และโครงการจัดสรรตั้งแต่ 500 แปลง หรือเกิน 100 ไร่ขึ้นไป

The Rise B ชลบุรี-62

โดยนำร่องพื้นที่กทม. และภูมิภาคอีก 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฏร์ธานี กระบี่ พังงา และภูเก็ต จะให้ทางจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเอง ซึ่งคัดเลือกจากจังหวัดที่มีโครงการขออนุญาตก่อสร้างจำนวนมากและเป็นจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน

35

ดร.เกษมสันต์ กล่าวว่า เมื่อกระจายอำนาจปริมาณจำนวนรายงานที่ต่องพิจารณาต่อปีจะลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือปีละ 250-300 โครงการ ต่อไปการพิจารณาจะเร็วขึ้นกว่าเดิมจาก 30 วัน น่าจะลดเหลือ 10 วัน โดยเฉพาะโครงการใน 7 จังหวัดนำร่อง ที่ไม่ต้องมาต่อคิวรวมพิจารณากับในกทม. เพราะต่อไปสผ. จะทำหน้าที่เฉพาะตรวจรายงานและให้ความคิดเห็นเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนการอนุมัติ EIA จะส่งให้ทางจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ คาดว่าจะเริ่มได้ประมาณ ต.ค. – พ.ย. นี้ ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องแต่งตั้งคชก. ประจำจังหวัดสาขาต่างๆ ร่วม 8 คน เพื่อมาทำหน้าที่พิจารณา EIA โดยทางสผ. ได้จัดทำคู่มือหลักปฏิบัติเพื่อยึดเป็นหลักในการพิจารณา

PS-Prasert-

ด้านนายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผยว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ สผ. กระจายอำนาจการพิจารณา EIA ให้กทม. และอีก 7 จังหวัด เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหางานล้นมือ อย่างไรก็ตามมีข้อเสนอให้ปรับเกณฑ์การพิจารณาบางเรื่องที่อาจไม่มีประโยชน์ในทางปฏิบัติเช่น การกำหนดตำแหน่งบันไดหนีไฟต้องอยู่ข้างลิฟท์ การกำหนดตำแหน่งบ่อบำบัดน้ำเสียต้องอยู่ใต้อาคาร ฯลฯ

2668863

ส่วนทางนายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ LPN เปิดเผยว่าหาก สผ. กระจายอำนาจการพิจารณา EIA น่าจะทำให้การพิจารณาเร็วขึ้น สามารถร่นระยะเวลาทำงานได้เกือบครึ่ง อย่างไรก็ตามสิ่งที่ตนเป็นห่วงคือเกณฑ์การพิจาณา รายงานของ คชก. ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ เพราะสิ่งที่ผู้ประกอบการเรียกร้องมาตลอดคือลดการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาและมีหลักเณฑ์ที่ชัดเจนขึ้น โดยอุปสรรคอย่างหนึ่งที่ทำให้รายงานไม่ได้รับการอนุมัติคือ คชก. มีเกณฑ์ใหม่ออกมาเพิ่มเติม

ที่มาข่าว: ประชาชาติ