ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 5 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม) โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยมีค่ากลางของดัชนีเท่ากับ 50 ดังนั้น หากค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ดี ในทางตรงข้าม หากค่าดัชนีต่ำกว่าค่ากลาง มีนัยว่าผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นภาวะที่ไม่ดี โดยให้น้ำหนักในการคำนวณดัชนี บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Listed Companies) ต่อบริษัทที่ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Non-listed Companies) เป็น 60 : 40

แผนภูมิ 1 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ในไตรมาส 4 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาส 4 ปี 2560 มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน (Current Situation Index) เท่ากับ 51.9 จุด สูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 จุด แต่ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว ที่ระดับ 54.8 จุด ดัชนีที่ลดลงนี้เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นในด้านการลงทุน การจ้างงาน ต้นทุนการประกอบการและการขึ้นโครงการใหม่/ยูนิตลดลง แต่ผลความเชื่อมั่นด้านประกอบการและยอดขายมีการปรับเพิ่มขึ้น

แผนภูมิ 2 ดัชนีความเชื่อมั่นในภาวะปัจจุบัน

ปี 2560 มีค่าเท่ากับ 59.1 จุด สูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 จุด แต่ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2560 ซึ่งมีค่า
เท่ากับ 61.0 จุด ทั้งนี้ดัชนีที่ลดลงนี้เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ การจ้างงานและต้นทุนการประกอบการที่คาดว่าจะลดลง แต่ยังมีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยสะท้อนให้เห็นจากปัจจัยในด้านยอดขาย การลงทุน และการขึ้นโครงการใหม่/ยูนิต มีการปรับเพิ่มขึ้น

แผนภูมิ 3 ดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า                                                 <strong> </strong>

ความเชื่อมั่นด้านอุปสงค์ในตลาด

ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ได้สะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่น ด้านบวกของผู้ประกอบการในมุมมองด้านอุปสงค์ในตลาด คือ ในไตรมาส  4  ปี 2560 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ    ด้านยอดขายมีค่าเท่ากับ 58.9 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 2560 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 53.1 จุด ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับผลจากดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และถ้าพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ในด้านผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2560 ที่มีค่าเท่ากับ 58.0 จุด ซึ่งมีการปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 2560 ที่มีค่า 53.4 จุด เป็นผลมาจากผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies มียอดขาย และผลประกอบการที่ดีกว่าผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies ผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies มีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยผู้ประกอบการมีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้นตามภาวะการส่งออก และการขยายตัวของการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบกับผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยที่ค่อยๆ ฟื้นตัวมากขึ้น  ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ผลของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ด้านอุปสงค์สะท้อนให้เห็นมุมมองเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่อตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในด้านยอดขายและผลประกอบการ

ความเชื่อมั่นด้านอุปทานที่อยู่อาศัยในตลาด

ผลการสำรวจได้สะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นด้านลบของผู้ประกอบการในมุมมองด้านอุปทานที่อยู่อาศัยในตลาด คือ ในไตรมาส 4 ปี 2560 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการด้านการลงทุนมีค่าเท่ากับ 54.9 จุดลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2560 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 61.8 จุด ดัชนีด้านการเปิดโครงการใหม่ใน ไตรมาส 4 ปี 2560 เท่ากับ 49.2 จุด ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2560 ที่มีค่าเท่ากับ 59.3 จุด ซึ่งส่งผลให้มีการจ้างงานลดลงด้วย โดยมีค่าดัชนีด้านการจ้างงานของไตรมาส 4 ปี 2560 เท่ากับ 47.5 จุด ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2560 ที่มีค่าเท่ากับ 56.2 จุด ดังนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นฯในด้านอุปทานทั้ง 3 ด้าน ได้สะท้อนว่า ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะขายโครงการที่อยู่อาศัยเดิมให้หมดไปก่อนที่จะเริ่มการลงทุนโครงการใหม่ในปี 2561

ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนการประกอบการ

ผลการสำรวจได้สะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในมุมมองด้านต้นทุน โดยดัชนีต้นทุนการประกอบการในไตรมาส 4 ปี 2560 มีค่าเท่ากับ 42.9 จุด ลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2560 มีค่าเท่ากับ 45.0 ด้านต้นทุนที่ปรับลดลง สะท้อนถึงผู้ประกอบการมีความกังวลด้านต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง2 ที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เนื่องจากราคาไม้นำเข้ามีการปรับตัวสูงขึ้น และหมวดผลิตภัณฑ์เหล็กที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นตามตลาดโลก จึงทำให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนการผลิตลงเพื่อเพิ่มผลกำไรในไตรมาสสุดท้ายของปี 2560

ดัชนีความเชื่อมั่นใน 6 เดือนข้างหน้า

สำหรับดัชนีความคาดหวังในอีก 6 เดือนข้างหน้า (Expectations Index) ของผู้ประกอบการประจำไตรมาส 4 ปี 2560 มีค่าเท่ากับ 59.1 จุด ซึ่งปรับลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2560 มีค่าเท่ากับ 61.0 จุด อย่างไรก็ตามในภาพรวมแนวโน้มในช่วง 6 เดือนข้างหน้าได้สะท้อนมุมมองของผู้ประกอบการที่ยังมีความคาดหวังในทิศทางเชิงบวกต่อตลาดที่อยู่อาศัย โดยดัชนีในแต่ละด้านยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงรอดูความชัดเจนของภาวะเศรษฐกิจไทยว่าจะมีการปรับตัวดีขึ้นตามการคาดการณ์ของหน่วยงานต่างๆ เพียงใด

หากพิจารณาตามกลุ่มผู้ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies พบว่ามีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าสูงถึง 64.0 จุด แม้ว่าจะลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2560 เล็กน้อยซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยความเชื่อมั่นในด้านผลประกอบการ การลงทุน การจ้างงาน ต้นทุนผู้ประกอบและแผนที่จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ในอนาคตลดลง แต่ปัจจัยด้านยอดขายมีการปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่ม Non-listed Companies มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้าเท่ากับ 51.7 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 2560 เล็กน้อยซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยความเชื่อมั่นที่สำคัญในด้านยอดขาย การลงทุน การจ้างงาน และการเปิดโครงการใหม่ สะท้อนว่าผู้ประกอบการกลุ่ม Listed Companies และกลุ่ม Non-listed Companies ทั้งสองกลุ่มมีความเชื่อมั่นเชิงบวกต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า เช่นเดียวกัน