DSCF0305

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายในงานสัมมนา”Mega Project:New Growth Engine, New Thailand” ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ สถานีโทรทัศน์ดิจิตอล NOW26 ว่า ปัจจุบันภาครัฐได้มีการเข้ามาพัฒนาประเทศในระบบโครงสร้างพื้นฐานใน Mega Project เพื่อให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศในแต่ละพื้นที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

Drone Purple 6

ทั้งนี้รัฐบาลได้มีการวางยุทธศาสตร์ในการลงทุน Mega Project ใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งมีแผนการจะลงทุนจำนวน 20 โครงการ โดยในปี 2559 นี้ได้มีการอนุมัติโครงการแล้วจำนวน 11 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 460,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันหลายโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างซึ่ง เช่น รถไฟรางคู่ ท่าเรือพาณิชย์ มอเตอร์เวย์ ในส่วนของที่เหลืออีก 9 โครงการนั้น คาดว่าจะเริ่มได้เริ่มเห็นความชัดเจนการดำเนินงานในปีนี้ ในส่วนของแผนการดำเนินการในปี 2560 นั้น กระทรวงฯได้มีการเตรียมแผนดำเนินการในการจัดทำ Action Plan ซึ่งคาดว่าในวันที่ 1 ต.ค. นี้จะเตรียมแผนแล้วเสร็จ

City 5

อย่างไรก็ตามจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานนั้น คาดว่าจะเป็นการสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้อย่างมั่นคง ซึ่งจากการคาดการณ์ของภาครัฐที่คาดว่าในปีนี้อัตราการเติบโตของจีดีพีจะเติบโตที่ระดับ 3% ทั้งนี้หากการก่อสร้างโครงการดำเนินแล้วเสร็จตามแผนที่ได้วางไว้ จะช่วยเพิ่มจีดีพีได้ที่ประมาณ 0.3-0.5% ส่งผลให้ทั้งปีอัตราการเติบโตของจีดีพีแตะระดับที่ 3.3-3.5% ในส่วนของปี 2560 มองว่าจะกำลังเสริมจากโครงการทีมีการพัฒนาต่อเนื่อง ส่วนที่เสริมเข้ามานี้จะส่งผลให้ Groth Engine จากโครงการเมกะโปรเจคเพิ่มขึ้นไปอีก

77th floor City View

นอกจากส่วนที่จะมาเสริมให้จีดีพีของประเทศเติบโตได้ คือ ภาคการท่องเที่ยว เช่น การขยายสนามบินสุวรรณภูมิ การปรับปรุงสนามบินดอนเมือง การเปิดสนามบินอู่ตะเภาที่จะเป็นภายในปลายปีนี้ เชื่อว่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพ และ เป็นการรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยว ในส่วนของการขยายเมืองนั้นก็เป็นอีกหนึ่งที่ภาครัฐได้เล็งเห็นในการดำเนินการพัฒนา ซึ่งจะส่งผลให้ภาคเอกชนจะเห็นความสำคัญ โดยจะมองที่ภาครัฐมีการขยายเมืองหรือวางระบบคมนาคมขนส่งในทำเลไหน จะทำให้ภาคเอกชนมองเห็นโอกาสและเข้าไปลงทุน

DSCF0315

ด้านนายวรวุฒิ  มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการการรถไฟ เปิดเผยว่า ปัจจุบันการรถไฟมีรายได้จากค่าโดยสารมากกว่าการขนส่งสินค้า ซึ่งค่อนข้างมั่นใจว่าในอนาคตเราไม่สามารถสู้กับราคาของสายการบิน Low Cost ได้ อาจเบนมาทางการขนส่งสินค้า ที่ตอนนี้มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 2%  ในอนาคตหากมีการเปิดรถไฟเพิ่มอีกก็น่าจะขยายตลาดได้อีก ยิ่งถ้าทุกทางเชื่อมต่อกันได้หมด ก็ยิ่งดึงดูนักลงทุนต่างชาติเข้ามา

ส่วนนาย ธีรพันธ์ุ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการกลยุทธ์และแผน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน กล่าวว่า สำหรับรฟม. สิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่มาตราฐานในการบริการ แต่เป็นการเชื่อมทุกโครงข่ายคมนาคมให้เชื่อมกันทั้งหมด เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ในอนาคตรฟม. มีแผนจะพัฒนาที่ดินรอบๆ สถานีให้เป็นที่อยู่อาศัยหรือพาณิชยกรรม แต่ปัจจุบันยังติดข้อกฏหมายบางประการอยู่ ทำให้นำที่ดินมาพัฒนานอกเหนือจากการคมนามคมไม่ได้ ซึ่งทางเราก็กำลังหารือกันอยู่

F6E24667-258E-4CFF-AE4C-0C7A6C78798E

ด้านภาคอสังหาริมทรัพย์ นำทีมโดยนายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม แห่งศุภาลัย กล่าวว่า ปัจจัยที่ผลักดันตลาดอสังหาฯ คือ  GDP Growth และ Infrastructure อย่างในช่วงแรกๆ ที่มีข่าวเรื่องรถไฟความเร็วสูงจะไปสร้างที่เชียงใหม่ ราคาที่ดินบริเวณใกล้ๆ สถานีปรับขึ้นเร็วมาก สูงกว่าใจกลางเมืองเกือบเท่าตัว และระบบคมนาคมที่ทั่วถึงยังเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้ทำเลนั้นพัฒนาไปได้เร็ว มีบริษัทเอกชนเข้าไปลงทุนมากขึ้น กลายเป็นแหล่งงาน