“หลังคา” นอกจากทำหน้าที่ เป็นส่วนป้องกันแดด กันฝน กันความร้อนเข้าสู่ภายในตัวบานแล้ว ตัววัสดุของหลังคาเอง ยังมีรูปทรง สีสัน ที่แต่งต่างกันออกไป ซึ่งวัสดุเหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งตายตัวว่าจะต้องใช้อะไร แบบไหนหรอกครับ แต่เป็นความนิยมชื่นชอบของวัฒนธรรมกับบุคคลของแต่ละพื้นที่มากกว่า

แต่สเน่ห์ของหลังคา จริงๆแล้วถูกถ่ายทอดออกมาเป็นรูปทรงต่างๆ ที่ปัจจุบันก็มีชื่อเรียกที่เป็นสากลหลากหลายออกมาแล้ว ยกตัวอย่างเช่น

1. หลังคาทรงปั้นหยา เป็นหลังคาที่ “ทุกด้าน” จะมีการลาดไหลลงสู่ผนัง หรือสามารถกันแดดฝนได้ทุกด้าน รวมไปถึงกันลมได้ดีกว่าหลังคาทรงอื่นๆด้วย โดยมักจะมีความชันไหลเอียงเท่ากัน

หลังคาทรงปั้นหยาของบ้านทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะมีสามเหลี่ยม 2 ด้าน และมีสี่เหลี่ยมคางหมู 2 ด้าน ซึ่งเกือบทั้งหมดจะต้องมีความลาดเอียงเดียวกัน หลังคาทรงนี้สามารถมีรางใต้รอบทุกด้านได้ นอกจากนี้หลังคาทรงปั้นหยายังสามารถมีหน้าต่างยื่นออกมาจากหลังคาในด้านที่ลาดเอียงได้ด้วย

แต่หลังคาทรงนี้ จะมีราคาก่อสร้างค่อนข้างแพงกว่าทรงอื่น เนื่องจากจะเปลืองวัสดุมากกว่า ตลอดจนต้องใช้ช่างที่มีฝีมือพอสมควรในการก่อสร้าง เพราะมีรายละเอียดเยอะกว่า เรามักจะเห็นหลังคาชนิดนี้ตามพวกรีสอร์ทต่างๆ หรือ เรือนไทย เป็นต้น

2. หลังคาทรงจั่ว เป็นหลังคาที่เรามักเห็นกันบ่อย ถือว่าเป็นหลังคาทรงมาตรฐานที่นิยมใช้กันมานาน รูปทรงของผืนหลังคาที่มีความลาดเอียงทั้งสองด้านและเทออกสู่ด้านนอก เอียงไปจรดกันที่จุดสูงสุดของหลังคาในแนวกึ่งกลางตัวบ้าน ซึ่งองศาความลาดเอียงของทั้งสองฝั่งอาจจะเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้เมื่อมองจากด้านแคบหรือด้านสกัดของบ้าน เวลามองจากด้านหน้าตรงๆจะเห็นเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมนั่นเอง

หลังคาทรงจั่วเหมาะกับการสร้างบ้านในสภาพอากาศร้อน-ชื้นของประเทศไทย เนื่องจากมีพื้นที่ใต้หลังคามาก มวลอากาศใต้หลังคานี้จะทำหน้าที่เสมือนเป็นฉนวนอีกหนึ่งชั้น ช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้ามาภายในบ้านได้นั่นเอง

3. หลังคาทรงมนิลา (หรือมะนิลา) เป็นหลังคาที่เกิดจากการผสมผสานทรงปั้นหยาและทรงจั่วมาอยู่ด้วยกัน เป็นที่นิยมกันมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะทั้งแข็งแรง มั่นคง คุ้มแดดคุ้มฝนได้ดี และยังมีช่องระบายอากาศใต้หลังคา ในยามที่ร้อนอบอ้าวอีกด้วย แต่เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่เกิดจากการผสมผสานลักษณะเฉพาะของหลังคาทั้งสองแบบ จึงมีความสลับซับซ้อนในงานก่อสร้างยากกว่าหลังคาแบบทั่วไป และอาจใช้งบประมาณมากกว่าหลังคาแบบอื่น


4. หลังคาทรงแบน (SLAB) ลักษณะหลังคาแบบนี้ส่วนใหญ่ เรามักจะเห็นในบ้านสไตล์ Modern เพราะนำไปปรับใช้ได้ง่ายและไม่ต้องใช้ต้นทุนที่เยอะอะไรมากนัก หรือสวยแบบเรียบๆนั่นเองครับ และนอกจากนี้ยังสามารถใช้พื้นที่บนหลังคาให้เกิดประโยชน์ด้วยก็ได้ อาทิเช่น ทำเป็นลานดาดฟ้า พื้นที่พักผ่อนแบบกลางแจ้ง จัดปาร์ตี้ หรือจะทำสวนดาดฟ้าเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ในตัวบ้านก็ได้ครับ

5. หลังคาทรงลาดเอียง (หรือหลังคาเพิงหมาแหงน) รูปทรงหลังคาสไตล์นี้ เหมาะสมกับชื่อเลยครับ เพราะมีลักษณะแหงนหน้าขึ้น เอียงไปทางด้านเดียว ก็ดูมีความทันสมัยอยู่ไม่น้อย หลังคาแบบนี้สามารถป้องกันแดดและระบายน้ำฝนได้ดี ที่สำคัญไม่รั่วซึมง่ายและใช้วัสดุก่อสร้างที่น้อยกว่าหลังคาแบบอื่นๆ ที่สำคัญคือมีราคาถูก และก่อสร้างง่ายด้วย


และนอกเหลือจากรูปทรงของหลังคา “วัสดุมุงหลังคา” ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะจะเป็นตัวช่วยและส่งเสริมการใช้งานของหลังคาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป สามารถเลือกใช้งานให้เข้ากับสไตล์ของตัวบ้านได้ จากที่เห็นในบ้านเราจะมีอยู่ 2 กลุ่มวัสดุหลักที่นิยมใช้กัน ได้แก่

1. วัสดุมุงหลังคาชนิดแผ่นกระเบื้อง ประกอบไปด้วย

1.1 กระเบื้องดินเผา เป็นวัสดุธรรมชาติใช้เป็นวัสดุมุงหลังคากันมาแต่โบราณ ปัจจุบันใช้มุงหลังคาที่ต้องการโชว์ลวดลายมากหน่อย หลังคาเช่น บ้านทรงไทย (ที่มุงออกมาเป็นทรงเกล็ดปลาหางมน) รูปแบบและรูปทรงของกระเบื้องดินเผาที่มีลักษณะเป็นลอนโค้งสูง ซึ่งช่วยเพิ่มคุณสมบัติเรื่องการระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดี โดยกระเบื้องชนิดนี้ต้องใช้มุงหลังคาที่มีความลาดเอียงมากๆ เพราะมีโอกาสจะรั่วได้

1.2 กระเบื้องหลังคาเซรามิก เป็นกระเบื้องที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากตัวแรกอย่างดินเผา นำดินพิเศษมาอัดขึ้นรูป เคลือบสี และผ่านกระบวนการเผาที่อุณหภูมิสูง 1,100 องศาเซลเซียส ทำให้เนื้อกระเบื้องมีความแข็งแกร่ง โดยเนื้อกระเบื้องที่ได้จะเป็นสีเนื้ออ่อน ส่วนผิวด้านบนที่เคลือบสีจะมี 2 ลักษณะคือ มันเงา และกึ่งเงา รูปแบบแผ่นกระเบื้องก็มีให้เลือกทั้ง “แบบลอนมาตรฐาน” และ “แบบลอนเว้า”

คุณสมบัติที่เด่นชัดของเซรามิกคือการไม่อมความร้อน ความร้อนใต้แผ่นกระเบื้องที่อุณหภูมิจากภายนอกเท่ากันจึงมีน้อยกว่ากระเบื้องชนิดอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสีของกระเบื้องหลังคาด้วย (ถ้ากระเบื้องหลังคาสีเข้มจะสะสมความร้อนมากกว่าสีอ่อน) นอกจากนี้กระเบื้องหลังคาเซรามิกยังมีน้ำหนักค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับกระเบื้องหลังคาคอนกรีตที่มีรูปลอนเดียวกัน ทำให้ประหยัดโครงสร้างที่รับหลังคาลง

1.3 กระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคาชนิดนี้มีความแข็งแรงและสวยงาม โดยลักษณะแผ่นกระเบื้องหลังคาคอนกรีตที่พบเห็นกันทั่วไปจะเป็นกระเบื้องรูปลอน แต่มีราคาค่อนข้างแพง และมีน้ำหนักมาก ทำให้โครงหลังคาที่จะมุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ต้องแข็งแรงขึ้นเพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา กระเบื้องซีเมนต์มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ กระเบื้องสี่เหลียมขนมเปียกปูน ขนาดเล็กที่ใช้มุงกับหลังคาที่มีความลาดเอียงตั้งแต่ 30-45 องศา ส่วนอีกชนิดนั้นเป็นกระเบื้องที่เรียกกันว่า กระเบื้องโมเนียร์ซึ่งสามารถมุงหลังคาในความชันตั้งแต่ 17 องศา

1.4 กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นวัสดุที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ผสมกับเส้นใยสังเคราะห์ ซึ่งมีข้อดีในเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดสารพิษ การสะสมความร้อนต่ำ มีความยืดหยุ่นตัวและมีความเหนียวมากกว่า ลักษณะของแผ่นกระเบื้องจึงทำได้ค่อนข้างบาง และมีน้ำหนักเบา รูปแบบแผ่นกระเบื้องก็มีหลากหลายตามแต่ละสไตล์บ้าน ทั้งแบบรูปลอนอย่างที่เรียกกันคุ้นปากว่า “กระเบื้องลอนคู่”

2.  วัสดุมุงหลังคาเหล็ก หรือรู้จักกันว่า “หลังคาเมทัลชีท”  คือ แผ่นเหล็กเคลือบโลหะอลูมิเนียมผสมสังกะสี และเคลือบสี มารีดขึ้นรูปเป็นลอน โดยหลังคาเมทัลชีท มีข้อดีคือ สามารถติดตั้งแบบไม่มีรอยต่อแผ่น หรือมีรอยต่อแผ่นน้อย สามารถรีดเป็นแผ่นยาวตลอดได้ ลดปัญหาการรั่วซึมได้ดีกว่าหลังคาทั่วไป รวมถึง มีน้ำหนักเบา ราคาถูก มีหลายสีให้เลือก มุงด้วยองศาของหลังคาที่ต่ำมากๆได้ ทำให้รูปทรงอาคารดูทันสมัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งหลังคาเหล็กจะสามารถดัดทำรูปทรงโค้งได้ง่ายกว่า ส่วนมากจะใช้ในการมุงหลังคาขนาดใหญ่ของบ้านพักอาศัย หรือใช้ในพื้นที่ที่ต้องการต่อเติม

ซึ่งเจ้า หลังคาเหล็ก (Metal Sheet) นี้ เราจะเห็นว่ามีขายอยู่ตามท้องตลาดบ้านเรา หลากหลายราคาทีเดียว มีตั้งแต่ราคาต่อตร.ม.ที่ประมาณ 80 บาท ไปจนถึงต่อตร.ม.ประมาณ 300 บาท นั่นเพราะมันมีสาเหตุครับ…

จริงๆแล้วในเนื้อผสมของ Metal Sheet นั้นมีอัตราส่วนผสมที่แตกต่างกันที่ตาเรามองไม่เห็นอยู่นะครับ ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่เป็นเหล็กเคลือบสังกะสี ที่ไม่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมเลย (พวกนี้มีชื่อเรียกอัตราส่วนผสมด้วยนะครับ เช่น Z275 หรือหมายถึง เหล็กเคลือบสังกะสี 275 กรัม/ตร.ม) จนไปถึงมีอะลูมิเนียมผสมเพิ่มเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เรียกได้ว่ามีการวิวัฒนาการพัฒนาของเมทัลชีทนั่นเอง

โดยปริมาณมวลสารเคลือบโลหะ ของ  Metal Sheet ที่เหมาะกับการใช้งานได้แก่ AZ150 (AZ150 ซิงค์-อะลูมิเนียม 55% ที่ 150 กรัมต่อตารางเมตร) ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้ในงานอาคารก่อสร้างส่วนหลังคาและผนัง และผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมทั่วไป ที่ต้องการคุณภาพเหล็ก ซึ่งมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเหล็กเคลือบสังกะสีถึง 4 เท่า

ซึ่งโปรดักส์ที่ผมไปเจอมามีชื่อว่า เหล็กเคลือบซิงคาลุม (ZINCALUME STEEL) เป็นเหล็กเคลือบโลหะผสมระหว่างอลูมิเนียม 55 อัตราส่วน สังกะสี 43.5 อัตราส่วน และซิลิคอน 1.5 อัตราส่วน

เหล็กเคลือบซิงคาลุม (ZINCALUME® steel) มีระบบป้องกันสนิม 2 ลักษณะ คือ มีอลูมิเนียมซึ่งเป็นส่วนประกอบของชั้นเคลือบช่วยเป็นเกราะป้องกัน การกัดกร่อนที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างอากาศ ความชื้น และตัวเนื้อเหล็ก ส่วนสังกะสีช่วยป้องกันการกัดกร่อนบริเวณขอบตัดและรอยขีดข่วน โดยสารประกอบสังกะสีจะสละตัวเองเพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่เนื้อเหล็ก ที่สำคัญโปรดักส์ตัวนี้ได้มาตรฐาน มอก. ด้วยนะครับ ซึ่งหมายถึงว่า ปริมาณสารเคลือบโลหะที่เคลือบอยู่นั่น ถ้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรองคุณภาพ อาจจะได้ปริมาณสารเคลือบน้อยกว่าความเป็นจริงจากที่ฉลากระบุไว้ เนื่องจากสินค้าเหล่านี้เราก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาของเราเอง

Tips : ข้อดีของการมีมอก.

  1. ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า เนื่องจากได้รับการรับรองคุณภาพ
  2. สร้างความปลอดภัยในการนำไปใช้งาน
  3. ในกรณีชำรุด ก็สามารถหาวิธีแก้ได้ง่าย เพราะสินค้ามีมาตรฐาน เดียวกัน หาทดแทนได้ง่าย
  4. วิธีการใช้และบำรุงรักษาใกล้เคียงกัน ไม่ต้องฝึกใช้ใหม่ทุกครั้งที่ซื้อ
  5. ได้สินค้าที่มีคุณภาพในราคาเป็นธรรม คุ้มค่ากับการใช้งาน

ซึ่งพอผมหาข้อมูลเชิงลึกขึ้นไป จากโปรดักส์เมทัลชีทอย่าง ZINCALUME พบว่ามาจาก บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทออสเตรเลีย ภายใต้การร่วมทุนระหว่าง บลูสโคป สตีล ออสเตรเลียกับบริษัทนิปปอน สตีล แอนด์ ซูมิโตโม เมทัล คอร์ปอเรชั่นกับบริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด มหาชน ก่อตั้งขึ้นในปี 2538

โปรดักส์ต่างๆของบริษัทนี้ หลักๆจะเป็น เมทัลชีท เกือบทั้งหมดเลยครับ ซึ่งก็จะมีรุ่นที่หลากหลาย มีการใช้งาน ที่แตกต่างรุ่นกันไปอีก ทีนี้มีอยู่รุ่นนึงนึงที่ผมเห็นว่ามีนวัตกรรมที่น่าสนใจอยู่ด้วย รุ่นที่ผมจะเอามาเล่าให้ฟังก็คือ “Colorbond”

“Colorbond” (เหล็กเคลือบสีคัลเลอร์บอนด์) ผลิตจากเทคโนโลยีระบบสีชั้นสูง ด้วยการทดลองและพัฒนามาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี เหมาะสำหรับการใช้งานภายนอก และภายใน เช่นหลังคา และผนังอาคาร ที่ต้องการความคงทนของสี และความสวยงามยาวนาน โดยชั้นสีที่เคลือบนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชั้น ได้แก่

  • ชั้นเคลือบสีด้านบน และล่าง (Finishing coat, Backing coat)
  • ชั้นเคลือบสีรองพื้น (Primer coat)

ซึ่งความน่าสนใจจริงๆของหลังคารุ่น Colorbond นอกจากตัวหลังคาเมทัลชีทที่ใช้รุ่นของ “ซิงคาลุม (ZINCALUME steel)” ที่ผมเล่าไปก่อนหน้าแล้ว จริงๆมันอยู่ส่วนผสมสีและสารเคลือบหลังคาครับ

ทางบลูสโคป ได้พัฒนาระบบสี ที่ช่วยลดการยึดเกาะของคราบฝุ่นบนพื้นผิว มีชื่อเรียกว่า Clean Technology ซึ่งส่วนผสมชนิดนี้จะทำให้ละอองสิ่งสกปรกไม่สามารถยึดเกาะบนพื้นผิวได้ และจะถูกชะล้างออกเมื่อมีฝนตก จึงทำให้หลังคาดูใหม่อยู่เสมอ (ซึ่งเค้ามีการรับประกันส่วนของการใช้งานส่วนนี้ถึง 5 ปีด้วยนะครับ)

ภาพตัวอย่าง : จากสภาพอากาศเดียวกันในภูมิอากาศเขตร้อน ด้านบนเป็นรูปเหล็กที่เคลือบสีแบบธรรมดา, ด้านล่างเป็น Metal Sheet รุ่น Colorbond

ทีนี้มาดู Fact มาดูคุณสมบัติอื่นๆของ Colorbond กันบ้าง ว่ามีอะไรบ้าง

  • เคลือบด้วยสีเคลือบคุณภาพสูง
  • ใช้เทคโนโลยีการสะท้อนรังสีความร้อนช่วยทำให้อุณหภูมิภายในอาคารเย็นลง
  • มีคุณสมบัติยอดเยี่ยมในการต้านทานจากการถูกกัดกร่อน
  • ช่วยยืดอายุการใช้งานของอาคารให้คงทนยาวนาน และมีความงดงามอยู่ตลอดเวลา
  • รับประกันนานสูงสุด 30 ปี
  • ได้รับมาตรฐาน มอก. 2753-2559
  • และมีการผลิตตามมาตรฐาน AS/NZS ถือว่าเป็นมาตรฐานที่เข้มงวดที่สุดมาตรฐานนึงของโลก

อีกหนึ่งในจุดเด่นของ COLORBOND ก็คือ มีเทคโนโลยีเทอร์มาเทค (Thermatech)

Colorbond ได้ใช้เทคโนโลยีเทอร์มาเทค มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสะท้อนรังสีอาทิตย์(แม้ในโทนสีเข้มก็ยังสะท้อนได้) เมื่อเกิดการสะท้อนแล้วก็จะช่วยให้อากาศภายในตัวอาคารเย็นขึ้น เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงและประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งในไลน์ของตัวสีหลังคา ก็จะมีหลายโทนมากๆ ซึ่งในแต่ละโทนสีก็จะมีค่า SRI ที่แตกต่างกันด้วยครับ

Tips : ค่า SRI คือดัชนีการสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ (มีค่าตั้งแต่ 0-100  ยิ่งค่าใกล้ 100 ยิ่งสะท้อนรังสีได้ดี) จากในรูปด้านบนเราจะเห็นได้ว่า ยิ่งค่า SRI สูงก็จะเป็นสีโทนสว่างขึ้นเรื่อยๆนะครับ

ซึ่งมันมีประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างนึงนะครับ โดยปกติแล้วพวกหลังคาเหล็กเคลือบสีต่างๆ มักจะมีเรื่องของโลหะหนัก มาเป็นปัจจัยในการเลือกซื้ออยู่บ้าง / โลหะหนัก เป็นธาตุ Transition Metals ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มธาตุที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต ไม่สลายตัวในกระบวนการทางธรรมชาติ มีความเสถียร และสามารถสะสมอยู่ในอากาศ ดินและแหล่งน้ำรวมถึงสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตได้อีกด้วย ซึ่งถ้าร่างกายของเราสะสมโลหะหนักไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นสาเหตุให้ก่อเกิดมะเร็งได้

มีเนื้อหาจากทางผู้ผลิต แจ้งว่ามีการทดสอบส่วนของ Bluescope Colobond ในเฉดสีต่างๆด้านบนเช่น  Off White / Aiyara White / Thredbo White / In Light Grey / Desert / Wind / Alloy Grey / Burnt Almond / Jade Green / Custard Orange โดยสีที่กล่าวมานั้นมีการจัดส่วนสาธิตในเรื่องการทดสอบน้ำชะหลังคา ว่าแทบจะไม่พบปริมาณโลหะหนักและสารปนเปื้อนเลย เรียกได้ว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผ่านการตรวจสอบและสามารถยื่นขอฉลากเขียว Green lable ได้ด้วยนะ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับเรื่องหลังคาที่ผมพาไปดูในวันนี้ นอกจากเรื่องดีไซน์ สไตล์ ความสวยงามแล้ว เราจะเห็นได้ว่าวัสดุมุงหลังคาในยุคนี้ ก็มีเรื่องของนวัตกรรมที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะเห็นว่าพัฒนาให้มีอายุวัสดุนานยิ่งขึ้น แต่ก็ยังมีพวกเรื่องของสิ่งแวดล้อมต่อการใช้งานเข้ามาอีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น เชื่อว่าหลายคนถ้าจะเลือกใช้วัสดุใดแล้ว ก็คงอยากได้ของดีที่สุดให้กับตนเอง และก็ยังอยู่ในงบที่เราไหวด้วย ก็ขอให้ได้หลังคาบ้านที่ถูกใจกันนะครับ 😀

ปล. บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป (ประเทศไทย) จำกัด นั้นได้เข้าร่วมแสดงสินค้าในงานสถาปนิก’ 62 ภายใต้แนวคิด “กรีน อยู่ ดี Living Green” ที่ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพค เมืองทองธานี ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 บูท S 109-1 ในวันที่ 30 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม 2562 สามารถเข้าไปรับชมตัวโปรดักส์พร้อมการแสดงการทดสอบกันได้นะครับ

คลิกชมข้อมูลเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์ เอ็นเอส บลูสโคป ได้ที่ คลิกที่นี่