พล... อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดการทดลองเดินรถเสมือนจริงโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่งสมุทรปราการ จากสถานีแบริ่ง – สถานีสำโรง จำนวน 1 สถานี

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายช่วงแบริ่งสมุทรปราการ เป็นเป็นความร่วมมือระหว่าง กทม. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้ ตามแผนการเดินรถของกทม. ช่วงแบริ่งสมุทรปราการ กำหนดเปิดให้บริการสถานีแรกที่สถานีสำโรง โดยจะทดลองเดินรถเสมือนจริง ระหว่างวันที่ 15 มี..-2 เม.. 60

ในระหว่างทดลองเดินรถเสมือนจริง นอกจากจะเป็นการทดสอบระบบการเดินรถไฟฟ้าแล้ว ยังจะมีการจำลองเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เหตุเพลิงไหม้ รถไฟฟ้าเฉี่ยวชน และการตรวจพบวัตถุต้องสงสัย เป็นต้น เพื่อเป็นการซักซ้อมการทำงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงประสานความร่วมมือและความช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะเปิดให้บริการเดินรถแก่ประชาชน ช่วงสถานีแบริ่งสำโรง ตั้งแต่วันที่ 3 เม..60 เป็นต้นไป และจะเปิดให้บริการเดินรถทั้งระบบประมาณปลายปี 2561

โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ ระยะทางรวม 13 กิโลเมตร มีจำนวน 9 สถานี ได้แก่

  1. สถานีสำโรง (E15) ตั้งอยู่ระหว่างสะพานข้ามคลองสำโรงกับแยกเทพารักษ์
  2. สถานีปู่เจ้าสมิงพราย (E16) ตั้งอยู่บริเวณถนนซอยสุขุมวิท 115
  3. สถานีพิพิธภัณฑ์เอราวัณ (E17) ตั้งอยู่บริเวณถนนสุขุมวิทซอย7
  4. สถานีโรงเรียนนายเรือ (E18) ตั้งอยู่หน้าโรงเรียนนายเรือ
  5. สถานีสมุทรปราการ (E19) ตั้งอยู่หน้าวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ
  6. สถานีศรีนครินทร์ (E20) ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองบางปิ้ง
  7. สถานีแพรกษา (E21) ตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนสมุทรปราการ
  8. สถานีสายลวด (E22) ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 45
  9. สถานีเคหะสมุทรปราการ (E23) ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 50

โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงพื้นที่ 123 ไร่ หลังสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง และมีอาคารจอดแล้วจร (park & ride) บริเวณสถานีปลายทางเคหะสมุทรปราการ เนื้อที่ 18 ไร่ สามารถจอดรถได้ 1,200 คัน ส่วนช่วงจากหมอชิตสะพานใหม่คูคต ระยะทาง 19 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี จะเปิดให้บริการเดินรถจากสถานีหมอชิต เชื่อมต่อกับสถานีห้าแยกลาดพร้าว ประมาณต้นปี 2562 และเปิดให้บริการเดินรถตลอดเส้นทาง ภายในปี 2563 

โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ถือเป็นเส้นทางข้ามจังหวัดแห่งแรกระหว่างกรุงเทพฯไปยังสมุทรปราการ ซึ่งจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรในเขตบางนาและจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชนซึ่งมีประชาชนอาศัยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งสถานีสำโรงเป็นสถานีใหญ่ พร้อมรองรับการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆในอนาคต อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง

ผู้ว่า กทม. กล่าวต่อว่า จะหารือเรื่องค่าโดยสาร ซึ่งต้องหาจุดสมดุลที่ประชาชนรับได้ และ กทม.ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งนี้คาดว่าในเส้นทางช่วงแบริ่งสำโรง จะมีจำนวนผู้โดยสาร ราว 40,000-50,000 เที่ยวคน/วัน และในปี 61 เปิดเดินรถไปสมุทรปราการ คาดจะมีจำนวนผู้โดยสารขึ้นมาเป็น 1 แสนเที่ยวคน/วัน

ส่วนกรณีที่ กทม.ยังไม่สามารถนำเงินมารับโอนส่วนต่อขยายจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนนั้น เนื่องจาก กทม.ไม่สามารถจัดหาเงินจำนวน 3,557 ล้านบาทให้ รฟม.ได้ จึงใช้วิธีให้ กทม.เป็นลูกหนี้ของกระทรวงการคลังแทน รฟม.โดยจะหารือกันทั้งกระทรวงการคลัง กทม. รฟม. กระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณ คาดจะได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 3 เม..นี้และจะลงนามสัญญาว่าจ้าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS)ก่อนเดินรถวันที่ 3 เม..นี้

ทั้งนี้ กทม.จะเป็นลูกหนี้กับกระทรวงการคลัง มูลค่ารวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท จากการโอนเส้นทางแบริ่งสมุทรปราการ โดย กทม.ต้องลงทุนระบบติดตั้งอาณัติสัญญาณ ระบบราง เป็นเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะให้ BTSC ลงทุนไปก่อนแล้ว กทม.จะทยอยใช้คืน หรือหักกลบกับค่าจ้างเดินรถ

ด้านพล..ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ รฟม. กล่าวว่า หากการเจรจายังไม่สามารถสรุปได้ทันก่อนวันที่ 3 เม..นี้ ทางรฟม.จะให้กทม.เช่าใช้พื้นที่สถานีสำโรงไปก่อนโดยเสนอราคาเช่าที่เดือนละ 8 ล้านบาท แต่เชื่อว่าเช่าในระยะสั้นประมาณ 1-2 เดือนเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเพื่อทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC กล่าวว่า การเดินรถ 1 สถานีจากแบริ่งไปสมุทรปราการ จะใช้รถที่มีอยู่ 52 ขบวนๆละ 4 ตู้ และจะเริ่มรับรถใหม่ที่สั่งซื้อไว้ โดยซีเมนส์จะทยอยส่งรถไฟฟ้า 22 ขบวน ในปลายปี 60 จนถึงกลางปี 61

ที่มาข่าว: TNN