showroom 42

ช่วงที่ผ่านมาอากาศร้อนระอุแบบนี้ ฝนเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนถ้าไม่เก็บตัวอยู่ในห้องแอร์ ก็ออกไปหาสถานที่พักผ่อนคลายร้อนกันแน่เลย ส่วนฝนหลบร้อนพาไป โชว์รูมค่ะซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาของ Philips Home Lighting – Bryant Décor ที่ถนนราชพฤกษ์ ฝนจะพาเพื่อนๆไปเลือกซื้อหลอดไฟยังไงให้เหมาะกับห้องของเรา และทำความรู้จักกับแสงสว่างที่ใช้ในชีวิตประจำวันกัน

map bryant

พิกัด : 13.734992, 100.449036

Philips Home Lighting Store มีหลายสาขานะ สามารถเข้าไปดูว่าเราสะดวกสาขาไหนได้ที่นี่ คลิก ส่วนฝนสะดวกไป Bryant Decor สาขาราชพฤกษ์ค่ะ ซึ่งการเดินทางนั้นไม่ได้ยากเลย อยู่ฝั่งราชพฤกษ์ขาเข้าเมืองค่ะ ถ้ามาจากสาทร กลับรถบริเวณแยกจรัญ ฯ 13 แล้วก็มาตามทางขนานเรื่อยๆก็จะถึง ส่วนคนที่มาจากทางขาออกราชพฤกษ์ ก็ไม่ต้องข้ามสะพานข้ามจรัญฯ 13 นะคะ มาตามทางเลียบสะพาน แล้วก็จะเจอโชว์รูมค่ะ

showroom 11

ภายในโชว์รูม มีทั้งหมด 3 ชั้น โคมไฟที่ห้อยตกแต่งอยู่ก็ของทางโชว์รูมมีจัดจำหน่าย มีบันไดเดินขึ้นไปชมสินค้าแต่ละชั้น

Untitled-1

ส่วนมากในร้าน โคมประเภท ตกแต่งจะเป็นของนำเข้าค่ะ และโคมไฟที่ใช้เป็นไฟสวน ดาว์นไลท์ ไฟใช้ในโรงงาน ทางร้านก็มีนะคะ

showroom 20

ส่วนผลิตภัณฑ์หลอดไฟของ Philips ก็มีขายที่ชั้น 1 ใกล้กับลิฟท์

showroom 17

ฝนจะขึ้นไปชั้น 3 ค่ะ

showroom 44

ชั้น 3 ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะเป็นของ Philips

showroom 42

มีหลากหลายประเภท และสินค้าก็อัพเดทเรื่อยๆ แต่ก่อนที่จะพาไปดูว่า มีอะไรใหม่ๆน่าสนใจเพื่อไปเลือกใช้ให้เข้ากับห้องหรือบ้านกันบ้าง ฝนพาเพื่อนๆไปรู้จักกับหลอดไฟแต่ละประเภทกันก่อนละกัน หนุ่มๆที่ทราบอยู่แล้วถือว่าทบทวนความรู้ ส่วนสาวๆถือซะว่าปรับพื้นฐานก่อนชอปปิ้ง เผื่อที่บ้านหลอดขาด คุณผู้ชายไม่อยู่ เวลาไปซื้อของที่ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง จะได้ไม่งง

lighting evo

เพื่อนๆมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวเราได้ยังไงค่ะ……… แสง นี่แหละเป็นสิ่งที่ทำให้เรามองเห็นอะไรต่ออะไรที่เบลอ ดูได้ชัดเจนขึ้น แต่ก่อนแรกเริ่มเรายังเป็นมนุษนย์หินและจีบสาวโดยการทุบหัวและลากเข้าถ้ำ พระอาทิตย์เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้เรามองเห็นว่า ….น่าโดนลากเข้าถ้ำไหม จากนั้นเราก็เริ่มรู้จักการก่อกองไฟ และนำมาใช้กับเชื้อเพลิงในรูปแบบของตะเกียง พอคุณเอดิสันได้คิดค้นประดิษฐ์หลอดไส้ให้เราใช้เท่านั้นแหละ เทคโนโลยีของหลอดไฟก็พัฒนามาเรื่อยๆจนปัจจุบันที่เราเห็นหลอดไฟ LED ตัวจิ๋วแต่กินไฟน้อยนี่แหละ ซึ่งก็ยังพัฒนาต่อไปเรื่อยๆอย่างนะ แต่ก่อนที่อยู่ๆเราจะหยิบหลอดไฟมาใส่โคมไฟเนี่ย ก็ต้องรู้ก่อนว่า หลอดแต่ละประเภท มีคุณสมบัติยังไง ดีหรือไม่ดี และเค้าเอาไปใช้กันบริเวณไหนกันบ้าง

ก่อนไปซื้อหลอดไฟซักหลอดมาเปลี่ยน หรือเลือกใช้ให้เข้ากับบ้านหรือคอนโดของเรา ฝนมี Check-List ง่ายๆเอาไว้ให้เพื่อนๆดูกัน

เชค

  • ค่าการส่องสว่าง : ให้ดูที่ ลูเมน (Lumen )ค่ะ เป็นหน่วยที่บอกปริมาณของแสงสว่างของหลอดไฟ
  • ขั้วหลอด : หลอดไฟจะมีขั้วที่ต่างกันไป เวลาเลือกซื้อหลอดไฟไปเปลี่ยนที่บ้าน หรือเลือกให้เข้ากับโคมไฟ ต้องดูด้วยว่า ขั้วหลอดด้วยนะ ว่าสามารถใส่โคมไฟได้หรือเปล่า
  • อุณหภูมิสีของแสง : ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกใช้ คือ Warm white มีค่าอุณหภูมิสีอยู่ที่ 2700-3000 องศาเควิน จะออกสีเหลืองส้ม เหมาะกับการใช้ในบริเวณส่วนพักผ่อน ห้องนอน เป็นต้น กับ Day light มีค่าอุณหภูมิสีอยู่ที่ 6500-6700 องศาเควิน จะออกขาวฟ้า เหมาะกับการใช้ในบริเวณส่วนอ่านหนังสือ ห้องทำงาน เป็นต้น
  • องศาของแสง : ในกรณีที่หลอดไฟที่เลือกใช้มีองศาของแสง ต้องดูเรื่องสถานที่ ที่เราจะนำไปใช้เป็นหลักนะคะ ส่วนใหญ่หลอดไฟประเภทนี้จะสร้างบรรยากาศของห้องได้ดีค่ะ
  • การกินไฟ : ตรงนี้ให้ดูที่ จำนวนวัตต์ ของหลอด ยิ่งมากกินไฟมาก
  • อายุการใช้งาน : ไม่อยากเปลี่ยนหลอดไฟกันบ่อยๆก็ต้องเลือกไฟที่อายุยืนหน่อย
  • ราคา : ค่าใช้จ่ายในการซื้อหลอดและการเปลี่ยนดูแล มีผลต่อการตัดสินใจนะคะ เปลี่ยนถี่ แต่ถูก กับนานๆเปลี่ยนทีแต่แพง

แน่นอนอย่าลืมเรื่องแหล่งที่ซื้อใกล้บ้านของเรานะคะ ว่าเราสะดวกซื้อเปลี่ยนได้ที่ไหน และมีหลอดไฟประเภทนั้นๆ วางจำหน่ายหรือไม่ จะได้ไม่ต้องตระเวนหาหลอดไฟไปเปลี่ยน…..หลังจากเพื่อนๆทราบคร่าวๆกันแล้ว จากนี้ไปทำความรู้จักกับหลอดไฟชนิดต่างๆกันต่อ

chart copy

ประเภทของหลอดไฟ ขอแบ่งออกเป็น 3 ประเภทละกันค่ะ คือ หลอดมีไส้ หลอดแบบปล่อยประจุ (หลอดประเภทนี้อาศัย Ballast) และ LED

จากภาพจะเห็นแล้วว่าอะไรอยู่ในตระกูลไหน แบ่งโดยวิธีการให้กำเนิดแสงค่ะ โดยหลักๆหลอดไฟที่ใช้ภายในบ้านหรือคอนโดเราก็จะมีอยู่แค่ 5 ประเภทค่ะ คือ หลอดไส้ ,หลอดฮาโลเจนแบบ Low voltage ,หลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดผอม) , หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ และ หลอด LED ส่วนหลอดไฟประเภทอื่นๆนั้นจะถูกนำไปใช้งานในรูปแบบที่ต่างกันไปตามคุณสมบัติและความเหมาะสม เอาไว้ถ้าใครอยากทราบเพิ่มเติมถามเข้ามาได้นะคะ

หลอดไส้

หลอดไฟประเภทแรกที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาบนโลกและปัจจุบันก็ยังใช้งานอยู่  คือ หลอดไส้  ชื่อภาษาอังกฤษว่า Incandescent (อินแคนเดสเซน) เนื่องจากอยู่มานานร้อยกว่าปีและ ชื่อเรียกจึงเยอะมากตามหน้าตาและการใช้งาน เจ้าหลอดประเภทนี้ จะให้แสงสีส้มเหลืองหรือ Warm white ค่ะ สามารถนำมาหรี่ได้ไม่มีปัญหาการกระตุก ราคาต่อหลอดก็ถูกมากกกกก ให้ความถูกต้องของสีได้เกือบ 100% และหาง่ายตามบ้านเรา แต่บางประเทศได้ยกเลิกการใช้หลอดไฟประเภทนี้ไปแล้วนะ เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้งานต่ำเมื่อเทียบกับพลังงานที่เสียไป (อ่านรายเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ ) สำหรับรูปที่เห็นเป็นทรงเรียกว่าคลาสิคเลย เรียกทรงนี้ว่า General Service Lamp  (GLS) ค่ะ มีทั้งขุ่นทั้งใส แล้วแต่เลือกใช้ ตัวขั้วหลอดเป็น E 27 ค่ะ ขั้วแบบนี้จะเป็นที่นิยม

Incandescent_Family 6e70b004-e455-4254-829b-018654bdb567

ด้วยลักษณะการทำงานโดยการให้ความร้อนผ่านขดลวด ดังนั้นสิ่งที่ตามมากับแสงสว่างคือ ความร้อน และ UV ค่ะ ไม่สามารถแตะได้ด้วยมือเปล่านะเวลาเราปิดไฟทันที นอกจากนี้ยังกินไฟมาก และอายุการใช้งานต่ำ ประมาณ 1,000 ชั่วโมง หรือ เดือน ครึ่ง ทำให้ไม่นิยมเอาไว้ใช้ในปัจจุบัน แต่ยังมีใช้กับโคมไฟบางประเภทนะคะ เช่น ไฟระย้า หรือ Chanderlier , ไฟศาลเจ้า , หลอดตู้เย็น เป็นต้น หลอดประเภทนี้จะอายุสั้นเข้าไปใหญ่ ถ้าแรงดันไฟฟ้าสูงเช่น 240 โวลต์ ซึ่งจะทำให้หลอดขาดง่าย (บ้านใครที่ใกล้หม้อแปลงมักจะมีอาการแบบนี้)

Halogen

หลอดฮาโลเจนแบบ Low voltage จัดอยู่ในประเภทหลอดมีไส้ มีการทำงานแบบเดียวกับหลอดไส้ คือ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน จนไส้ร้อนแล้วเปล่งแสงออกมา ต่างกันตรงที่ภายในจะบรรจุก๊าซไอโอดีน คลอรีน ฯลฯ ก๊าซพวกนี้เป็นตัวช่วยยืดอายุหลอดค่ะ  เจ้าหลอดประเภทนี้ จะมีความร้อนออกมาเช่นกัน ดังนั้นไม่ควรแตะด้วยมือเปล่า ส่วนใหญ่จะเอาไว้ส่องเน้นบรรยากาศในห้องค่ะ เช่น ใช้ในตู้โชว์ รูปภาพ รูปปั้น หรือในโรงแรม บริเวณส่วนกลางของคอนโดมิเนียม เป็นต้น

halogen2

หลอดที่นิยมใช้ในบ้านหรือคอนโดมิเนียม จะเป็นรุ่น MR 16 ( MR ย่อมาจาก Multiflected Reflector และ 16 มาจากเส้นผ่านศูนย์กลาง ) เป็นขั้วเสียบแบบ GU5.3 หรือ GU10 ค่ะ เป็นหลอดที่มีตัวสะท้อน หรือ Reflector ในตัว ดังนั้นจึงมีองศาของไฟให้เลือกใช้ต่างๆกันไปเช่น 12 24 36 องศา อุณหภูมิสีของแสงจะอยู่ที่ 3000 เควิน จะออกขาวกว่าสีของหลอดไส้  สามารถติดอุปกรณ์เพื่อปรับหรือหรี่แสงได้ง่าย เปิดปุ๊ปติดปั๊ป มีอายุการใช้งานนานหลอดไส้ ประมาณ 2-3 เท่า อยู่ที่ประมาณ 2000-5000 ชั่วโมงแล้วแต่รุ่นของหลอดไฟ

halogen3

 

จะใช้กับไฟขนาด 12V  แต่เนื่องจากไฟบ้าน เป็นไฟขนาดแรงดัน 220V เพราะฉะนั้น หลอดฮาโลเจน ขนาด12V ก็เลยไม่สามารถต่อตรงได้เลย ต้องมีหม้อแปลงเข้ามาแปลงแรงดันไฟบ้านจาก 220V ให้เหลือ 12V ก่อน ไม่อย่างนั้นถ้าต่อตรงเลย หลอดจะรับแรงดันสูงๆ แบบนั้นไม่ไหว หลอดจะเสีย และ อย่าลืมเรื่องตำแหน่งของหม้อแปลงไฟตัวนี้ให้ดีๆ ว่าอยู่ตำแหน่งไหน ใช้หม้อแปลงประเภทแกนเหล็กหรือไฟฟ้า ซึ่งนอกจากราคาที่ต่างกันแล้ว น้ำหนักของแกนเหล็กก็ยังหนักมากกว่าอีกด้วย ทำให้ต้องมีที่เก็บหม้อแปลงที่แข็งแรง รับน้ำหนักได้และไม่ควรอยู่ห่างจากตำแหน่งหลอดไฟมาก เพราะแรงดันไฟฟ้าอาจจะตกได้ทำให้ไฟมีแสงหรี่

fluorescent

หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดผอม เป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพแสงและอายุการใช้งานมากกว่า หลอดไส้ มีกระบวนการให้แสงสว่างคือ ส่งผ่านประจุอิเล็คตรอนซึ่งเกิดจากขั้วลบผ่านสารเรืองแสงที่ใช้เคลือบหลอดไฟไปยังขั้วบวก นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเนื่องจากให้แสงสว่างสูง อายุการใช้งานยาวนาน หาซื้อง่ายที่ 7-11 ก็มี แสงสีที่นุ่มนวลและความร้อน ที่ตัวหลอดน้อยกว่า เมื่อเทียบกับหลอดมีไส้ คุณลักษณะดังกล่าวจึงเหมาะกับการนำไปใช้ให้แสงสว่างทั่วไปในอาคาร และนอกอาคารเป็นบางแห่ง

ประเภทของหลอดฟลูออเรสเซนต์

  • Preheat : เป็นแบบที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางทั่วไปสังเกตง่ายๆ คือประกอบด้วยตัวหลอด, บัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์
  • Rapid start : ไม่ต้องอาศัยสตาร์ทเตอร์เนื่องจากใช้บัลลาสต์แบบพิเศษ ที่จ่ายไฟเลี้ยงไส้หลอดให้อุ่นตลอดเวลา ทำให้จุดติดง่ายกว่า และหลอดก็ต่างจาก แบบ preheat ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ เหมาะกับสถานที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ และยังสามารถใช้ร่วมกับ เครื่องหรี่ไฟได้ด้วย
  • Instant start :  จะใช้การจ่ายแรงดันสูงประมาณ 400-1000 V เข้าที่ตัวหลอดโดยผ่านบัลลาสต์ เพื่อกระตุ้นให้อิเล็กตรอนหลุดออกจาก cathode หลอดชนิดนี้ไม่ต้องอาศัยสตาร์ทเตอร์ เช่นกัน  (หลอด instant start เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหลอด slimline)

นอกจากนี้ยังมีหลอดที่ให้แสงสว่างสูงพิเศษจำพวก high output และ very high output อีกด้วย ขั้วหลอดโดยทั่วไป เป็นแบบ single pin แต่อาจมีแบบ bipin ในบางรุ่นเพื่อให้สามารถใช้ร่วมกับ ขั้วหลอดทั่วไปได้

linear-fluorescent-lamp-com1

โดยส่วนใหญ่เป็นหลอดประเภท T12 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหลอดอ้วน หากเป็นไปได้ควรที่เลือกหลอดผอมแบบ T8 หรือ T5 ที่มีขนาดของหลอดเล็กกว่า แต่ให้ความสว่างเท่ากัน จะช่วยประหยัดพลังงานและประหยัดค่าไฟได้มากขึ้นด้วย รู้หรือไม่ค่ะ ว่า T ย่อมจาก Tubular และตัวเลขต่างๆตามหลังเช่น เช่นหลอด T12 หมายถึงหลอดที่มี เส้นผ่าศูนย์กลาง 12หุน หรือ 12/8 นิ้วเป็นต้น

compactfluorescent

หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ เรียกว่าเป็นน้องที่คลานตามพี่ฟลูออเรสเซนต์มาแต่มีขนาดกะทัดรัดขึ้น เจ้าตัวนี้ถูกพัฒนาให้มาทดแทนหลอดไส้เจ้าเก่าที่คุณเอดิสันผลิตขึ้นมา แต่สุดแสนจะกินไฟและให้ความร้อน ดังนั้นคุณสมบัติของเจ้าหลอดคอมแคฟลูออเรสเซนต์เลยเป็นประเภท จิ๋วแต่แจ๋ว นอกจากประหยัดไฟแล้วยังให้กำลังส่องสว่างที่มากขึ้น อายุการใช้งานประมาณ 5,000-8,000 ชม ความร้อนน้อยกว่า

Hands holding traditional and energy efficent lightbulbs

เมื่อเทียบกับหลอดไส้  และด้วยความที่ตั้งใจทำหน้าที่แทนหลอดไส้ ดังนั้นเมื่อขั้วที่ใช้เหมือนกัน จำนวนวัตต์เท่ากันหรือน้อยกว่า เราสามารถเปลี่ยนแทนกันได้เลยค่ะ

หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ก็มี 2 แบบนะคะ

cfl-lamps

  • แบบขั้วเกลียว : เป็นแบบปกติที่เราใช้อยู่ทั่วไปค่ะ เวลาเสียต้องทิ้งทั้งหลอดไม่สามารถเปลี่ยนเป็นส่วนได้ ขนาดเล็กกะทัดรัด

images (2)

  • แบบขั้วเสียบ : ส่วนใหญ่เป็นประเภทแบบบัลลาสต์แยกแต่ที่ตัวหลอดจะมีสตาร์ทเตอร์ติดตั้งไว้ภายในเรียบร้อยแล้ว อาจมีลักษณะรูปร่างต่างกันออกไปในแต่ละรุ่นและยี่ห้อ

led

หลอด LED ถ้าคอมแพคฟลูออเรสเซนต์คือจิ๋วแต่แจ๋วแล้ว LED คงเป็น ซุปเปอร์จิ๋วที่แจ๋วมากกว่า ถึงราคาของหลอดไฟ LED ค่อนข้างสูงกว่าหลอดไฟทั่วไปอยู่สักหน่อย แต่ถ้าหากนำมาเปรียบเทียบการใช้งานและคุณภาพแล้วถือว่าหลอดไฟแบบ LED คุ้มค่ากับราคาของมันอยู่ไม่น้อย หลักการทำงานของหลอด LED ต่างจากหลอดไส้ เป็นหลอดไม่มีไส้ จึงไม่มีการเผาไส้หลอด หลอด LED ถึงไม่แผ่ความร้อน เพราะพลังงานส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นแสงไปหมดแล้ว แล้วก็อายุการใช้งานของหลอดยาวนานขึ้น ก็เพราะไม่มีการเผาไหม้นั่นเอง  เพราะหลอดไฟประเภทนี้สามารถเปิด-ปิดได้บ่อยครั้ง ไม่มีการเสื่อมสภาพไปตามจำนวนการกดสวิตช์ นอกจากนี้ไม่มีการปล่อยรังสียูวี หรือก๊าซอันตราย อีกทั้งยังให้แสงที่สบายตากว่าหลอดชนิดอื่น ที่สำคัญยังช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 70% เมื่อเทียบกับหลอดไส้แบบเดิม ๆ และมีอายุการใช้งานที่นานถึง 50,000 ชั่วโมงเลยทีเดียว

Lighting-Blog-Hero-1024x583

 

ลองเปรียบเทียบดูว่าในหลอดไฟประเภททดแทนกันได้ หรือเราเรียกกันว่า Replacement คือ หน้าตาเหมือนหลอดไฟรุ่นพี่ที่มาก่อนแต่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ทดแทนกันได้ ไม่ว่าจะเป็น ฟลูออเรสเซนต์ คอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หรือ LED จะเห็นว่า LED ใช้งานนานสุด แต่กินไฟน้อยสุด ซึ่งราคาก็มากสุด แต่ก็ไม่ต่างนักในปัจจุบัน แต่ยังไม่ค่อยหลากหลาย หาซื้อไม่สะดวกเท่ากับหลอด คอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แต่ฝนเชื่อว่าอีกไม่นาน จะมีให้เลือกใช้และหาซื้อง่ายกว่าเดิม และการที่พัฒนาหน้าตา คุณสมบัติต่างๆทดแทนหลอดไฟแบบเก่าๆ ทำให้เรามีความหลากหลายในการเลือกใช้มากขึ้น แถมทำให้พื้นที่การติดตั้งไฟลดลงอีก ไม่เรียกซุปเปอร์จิ๋วได้ยังไง

พอจะรู้จักกันไปคร่าวๆแล้ว ในตอนถัดไป ฝนจะพูดถึงเรื่องความคุ้มค่าในการใช้หลอดไฟที่สามารถประหยัดสตางค์ในกระเป๋าเพื่อนๆและห้องต่างๆในบ้านของเรานั้นเหมาะกับการใช้ไฟประเภทไหน และห้องในบ้านเหมาะกับแสงไฟหรือโคมไฟแบบไหนกันค่ะ 🙂